งานวิจัยเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

ในการตรวจสอบสาระของวารสารฉบับนี้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนส่งต้นฉบับเข้าสู่โรงพิมพ์ ได้เกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งที่มีทั้งส่วนดีใจและกังวลใจระคนกันอยู่ ดีใจที่ปัจจุบันในประเทศไทยเรามีผู้คนสนใจทำการวิจัยกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ขอบข่ายของงานที่สนใจดำเนินการกันอยู่มีความหลากหลาย ครอบคลุมวิทยาศาสตร์เกษตรในทุกสาขาที่ล้วนมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น  ซึ่งถ้าดำเนินการกันอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอเรื่อยไปประเทศไทยก็คงจะเป็นผู้นำการเกษตรในเขตร้อนของโลกได้ ตามที่อยากเป็นได้จริงๆ

อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกอีกส่วนวนหนึ่งที่เกิดขึ้น ขณะเปิดอ่านสาระวิจัยเล่มนี้ ก็คือ งานวิจัยของเราทั้งหมด    ยังเป็นการศึกษาหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทั้งสิ้น ยังไม่มีการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาวิจัยเพื่อต่อยอดให้มีความเป็นสากลเลย

องค์ความรู้เหล่านี้อยู่ใกล้ตัวเรามากเกินไปหรือเปล่า จนทำให้เราเคยชินและมองข้ามไป หรือว่าเรามุ่ง แต่ตามก้นฝรั่งจนลืมบรรพบุรุษของเรา ลืมวัฒนธรรมแบบไทย ๆ ของเราที่น่าจะพัฒนาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยได้ง่ายกว่าที่

จริงแล้วองค์ความรู้พื้นฐานเหล่านี้ ได้รับการประยุกต์พัฒนามาตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มายืนยัน บรรพบุรุษของเราไม่สามารถจะระบุได้ว่า กรรมวิธีเดิมกับกรรมวิธีใหม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ แต่อย่างน้อยน่าจะรับรองได้ว่าเป็นองค์ความรู้ที่สอดรับกับความสะดวกสบายของคนไทยอย่างแท้จริง  นอกเหนือจากนั้นไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของภูมิปัญญาไทยก็ยังเป็นความรู้ใหม่ที่นักวิจัยระดับนานาชาติจะต้องยอมรับ เพียงแต่เราต้องทำวิจัยต่อยอดเพิ่มขึ้นอีกเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องอย่างเป็นสากล การพัฒนางานวิจัยแนวทางนี้น่าจะเป็นข้อได้เปรียบของเรา อย่างน้อยก็ไม่ต้องเริ่มจากองค์ความรู้ที่เป็นศูนย์

เราควรหันกลับมาพิจารณาภูมิปัญญาเหล่านี้กันให้มากขึ้นหรือไม่? เราจะนำมาใช้เพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรของเราให้แข่งขันในระดับนานาชาติได้อย่างไร ??

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-15

ผลของอุณหภูมิและวัสดุเพาะต่อการเกิดดอกของเห็ดโคนญี่ปุ่น

อัจฉราวรรณ น้อยกล่ำ, ประสิทธิ์ วัฒนวงศ์วิจิตร

203-210

การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายไซโตไคนินและจิบเบอเรลลินในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยก่อนการออกดอก

ดรุณี นาพรหม, ชัยวัฒน์ พจนาพิมล , วรรณวรางค์ พัฒนโพธิ์ , ธนัท ธัญญาภา

211-220

การศึกษาความดีเด่นของลูกผสมในพริกเม็ด

นงลักษณ์ ไมล์หรือ, มณีฉัตร นิกรพันธุ์

221-231

ผลของโซเดียมไฮโปคลอไรต์ต่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอ

ชิติ ศรีตนทิพย์, ยุทธนา เขาสุเมรุ, สันติ ช่างเจรจา

252-257

ตำแหน่งและการถ่ายทอดของเชื้อรา Macrophonnina phaseolina ในเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวผิวดำ

ซามซูร รอฮอมาน , สุชาดา เวียรศิลป์, สมบัติ ศรีชูวงศ์

258-265

ผลของแมงกานีสต่อการเจริญเติบโตของลิ้นจี่

มัลลิกา วารีรัตน์, ตระกูล ตันสุวรรณ

287-293

ธุรกิจการผลิตของกลุ่มสตรีสหกรณ์ภาคเหนือตอนบน

วราภา คุณาพร, ประคองศรี ฤทธาภรณ์, เยาวเรศ เชาวนพูนผล

294-306