การศึกษาความดีเด่นของลูกผสมในพริกเม็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
รวบรวมสายพันธุ์พริกจากแหล่งปลูกหลายแหล่งในประเทศจำนวน 10 สายพันธุ์ มาปลูกเพื่อศึกษาและประเมินพันธุ์ ร่วมกับสายพันธุ์พริกที่เกสรตัวผู้เป็นหมันจากต่างประเทศ 5 สายพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อ-แม่ ได้ผสมตัวเองสายพันธุ์พ่อที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 5 สายพันธุ์ 2 ครั้ง แล้วนำมาผสมข้ามกับสายพันธุ์เกสรตัวผู้เป็นหมัน 2 สายพันธุ์ ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 จำนวน 10 คู่ผสม ปลูกทดสอบพันธุ์ลูกผสมเปรียบเทียบกับสายพันธุ์พ่อที่สถานีวิจัยของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่ามีลูกผสม 3 สายพันธุ์ คือ KY1-1x บางช้าง, KY1-1x หนุ่มเขียวและ KY1-1x หนุ่มเขียวแม่โจ้ให้ผลผลิตสูงกว่าสายพันธุ์พ่อ 76.96%, 39.13%, และ 8.09% ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีคุณภาพของผลที่ดีกว่าสายพันธุ์พ่อที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง โดยให้ผลที่มีรูปทรงดี ผิวผลเรียบและผลขนาดใหญ่ การวัดปริมาณความเผ็ดโดยวัดค่าดูดกลืนแสงเปรียบเทียบกับการทดสอบโดยใช้คนชิม ให้ผลการทดลองที่แตกต่างกัน จากการทดสอบโดยใช้คนชิมพบว่า พริกฝางมีระดับความเผ็ดสูงที่สุด ส่วนการวัดโดยใช้ค่าดูดกลืนแสง พบว่า พริกบางช้างมีระดับความเผ็ดสูงที่สุด เมื่อวัดความดีเด่นของความเผ็ดพบว่า KY 1-1 x หนุ่มเขียวแม่โจ้, CF21789 x หนุ่มเขียว และ KY 1-1 x หนุ่มเขียว มีเปอร์เซ็นต์ความดีเด่นสูง อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองที่สองวิธีสรุปได้ว่า ลูกผสมที่มีสายพันธุ์พ่อต่างกันมีระดับความเผ็ดต่างกัน และระดับความเผ็ด ที่แตกต่างกันมีการกระจายตัวแบบต่อเนื่องแสดงว่าความเผ็ดควบคุมโดยยีนจำนวนมาก และยีนเด่นเป็นตัวกำหนดความเผ็ดโดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวทำให้ระดับความเผ็ดแปรปรวน
Article Details
References
ดำเนิน กาละดี. 2541. การปรับปรุงพันธุ์พืชผสมตัวเอง. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 250 หน้า.
มงคล พุทธวงศ์. 2540. การปรับปรุงพันธุ์พริกชี้ฟ้า “น่านเจ้า” เอกสารในการประชุมวิชาการพืชผักแห่งชาติ ครั้ง ที่ 15 11-14 สิงหาคม ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์, กรุงเทพฯ. หน้า 343-349.
มณีฉัตร นิกรพันธุ์. 2538. พริก. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจำแนกพืชผักและการปรับปรุงพันธุ์ผัก. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 244 หน้า.
สุชีลา เตชะวงค์เสถียร. 2540. การปรับปรุงพันธุ์พริกช่อทนแล้ง. เอกสารในการประชุมวิชาการพืชผักแห่งชาติครั้งที่ 15 11 – 14 สิงหาคม ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์, กรุงเทพฯ. หน้า 155-169.
Allard, R. W. and A. D. Bradshaw. 1964. Implications of genotype-environment interaction in Applied Plant breeding. Crop sci. 4:503-508.
Bosland, P.W., J. Iglessias and M.M. Gonzales. 1993. NuMex Joe E. Paprika Chili. Plant Breeding Abstracts. 64(4): 561.
Ganashan, P. 1992. Developing hot pepper cultivars in Sri Lanka. Proceedings of the conference on chili pepper production in the tropics 13-14 October. Concorde hotel, Kualalumber, Malaysia. P. 226-228.
Huffman, V.L., E.R. Schadle, B. Villalon and E.E. Burns. 1978. Volatile components and pungency in fresh and processed jalapeno peppers. J. Food Sci. 43: 1809-1811.
Joshi S., P.C. Thakur and T.S. Verma. 1992. Progress in paprika breeding at Katrain (India). Proceedings of the conference on chili pepper production in the tropics 13-14 October. Concorde hotel, Kualalumber, Malaysia. P. 223-225.
Ken Ovens. 1992. Breeding pepper varieties for commercial processing. Proceedings of the conference on chili pepper production in the tropics 13-14 October, Concorde hotel, Kualalumber, Malaysia. P. 195-201.
Nelson, E.K. 1920. The constitutions of capsaicin, the pungency principle of Capsicum III. J. Am. Chem. Soc. 42:597-599.
Ohta, Y. 1962. Genetical studies in the genus Capsicum. Tech. Bull. Kihara. Inst. for Biol. Res. Yokohama, Japan. P. 1-94.
Webber, H.J. 1912. Preliminary notes on pepper hybrids. Am. Breed. Assoc., Annual Rep. 7. 188-189.