ธุรกิจการผลิตของกลุ่มสตรีสหกรณ์ภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการผลิตเชิงธุรกิจของกลุ่มสตรีสหกรณ์ในเขตภาคเหนือตอนบน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์ที่มีการผลิตเชิงธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่า มีกลุ่มสตรีสหกรณ์ในเขตภาคเหนือตอนบนที่มีการผลิตเชิงธุรกิจ 33 กลุ่ม ซึ่ง 16 กลุ่มอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งประเภทการผลิตออกได้ 5 กลุ่ม ได้แก่ การแปรรูปอาหาร การทอผ้า และผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ การผลิตกล้าไม้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชและอื่น ๆ รวมมีกิจกรรมการผลิตทั้งสิ้น 54 ประเภท ประธานกลุ่มสตรีสหกรณ์มีอายุเฉลี่ย 43.74 ปี ส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น และดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มเฉลี่ย 2.65 ปี
จากการศึกษาต้นทุนผลตอบแทนของการผลิตเชิงธุรกิจ พบว่า การผลิตกล้าไม้ เป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดถึงร้อยละ 96 ประเภทของการผลิตที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า ร้อยละ 50 ได้แก่ ข้าวแตน น้ำเสาวรสเข้มข้น น้ำดื่มบรรจุแกลลอน ชุดสตรี และกล้วยกวน การผลิตส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนมากกว่าร้อยละ 30 การผลิตที่ให้ผลตอบแทนเป็นลบ ได้แก่ ไม้กวาด การจัดดอกไม้งานศพ พวงหรีดดอกไม้สด และน้ำพริกลาบ ช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่มีอายุการเก็บรักษาได้นานมีมากกว่าผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ จึงมีข้อเสนอแนะให้สนับสนุนกลุ่มสตรีสหกรณ์ผลิตกล้าไม้เป็นธุรกิจ ขณะเดียวกันต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดควบคู่กันไปด้วย
Article Details
References
ไพลิน ศุภกิจวิเลขการ. 2540. ทิศทางการพัฒนาสตรีสหกรณ์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 8. หนังสือพิมพ์สหกรณ์ ต.ค. – ธ.ค. 2540.
ศักดา อ้อพงษ์. 2532. “บทบาทสตรีกับธุรกิจการผลิต” วารสารพัฒนาชุมชน 2: 3-8.
Sison, Obdulia M. 1992. Rediscovering Women in Agricultural and Rural Development in Asia: Focus on Philippines Experience. Paper Presented in the Workshop on Gender Issues in Farming Systems Research and Extension Workshop, Maejo Institute of Agricultural Technology, Chiang Mai, Thailand.