การเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายไซโตไคนินและจิบเบอเรลลินในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยก่อนการออกดอก

Main Article Content

ดรุณี นาพรหม
ชัยวัฒน์ พจนาพิมล
วรรณวรางค์ พัฒนโพธิ์
ธนัท ธัญญาภา

บทคัดย่อ

            การศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายไซโตไคนิน และจิบเบอเรลลินในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยก่อนการออกดอกทำการทดลองโดยใช้ต้นลิ้นจี่อายุประมาณ 20 ปี ที่สวนสองแสน ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารคล้ายไซโตไคนิน ทำการทดลองตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ส่วนการศึกษาการเปลี่ยนแปลง สารคล้ายจิบเบอเรลลิน ทำการทดลองตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยมีจำนวนสัปดาห์ก่อนการออกดอก เป็นกรรมวิธีซึ่ง ได้แก่ 0,2,4,6 และ 8 สัปดาห์ ในการศึกษาสารคล้ายไซโตไคนินและ 0, 1, 2, 3 และ 4 สัปดาห์ ในการศึกษา สารคล้ายจิบเบอเรลลิน


            ผลการทดลองพบว่าปริมาณสารคล้ายไซโตไคนินเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนการออกดอก โดยมีปริมาณต่ำในสัปดาห์ที่ 8 และคงที่ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 6 ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่เริ่มเกิดการออกดอก จากนั้นปริมาณจะเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 2 และจะคงที่ไปจนถึงสัปดาห์ ที่มีการแทงช่อดอก ส่วนปริมาณสารคล้ายจิบเบอเรลลินจะลดลง ในช่วงก่อนการออกดอก โดยมีปริมาณสูงในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ก่อนการออกดอก และปริมาณจะลดลงในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่เริ่มเกิดการออกดอก จากนั้นปริมาณจะลดลงจากสัปดาห์ที่ 1 จนถึงต่ำสุดในสัปดาห์ ที่มีการแทงช่อดอก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2536. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 222 หน้า.
สำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่. 2539. ข้อมูลภาวะการผลิต การตลาดของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อการส่งออก จังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานเกษตร และสหกรณ์ จังหวัดเชียงใหม่.
โรจน์รวี ภิรมย์. 2539. วิธีการวิเคราะห์ และการเปลี่ยนแปลงสารคล้ายไซโตไคนินในช่วงก่อนการแตกใบอ่อนและออกดอกในยอดลำไยพันธุ์ดอ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 138 หน้า.
Bernier, G., J.M. Kinet and R.M. Sachs. 1985. The Physiology of Flowering Volume III The Development of Flowers, CRC Press, Inc. Boca Raton, Florida. 274 pp.
Chen, W.S. 1987. Endogenous growth substances in relation to shoot growth and flower and development of Mango. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 112(2): 360-363.
Chen, W.S. 1990. Endogenous growth substances in xylem and shoot tip diffusate of lychee in relation to flowering. Hort Science 25(3): 314-315.
Chen, W.S. 1991. Change in cytokinin before and during early flowering bud differentiation in lychee (Litchi Chinensis Sonn.).Plant Physiol. 96:1203-1206.
Manos, J. and J.Goldthwaite. 1976. An improved cytokinin bioassay using cultured soybean hypocotyl section. Plant Physiol.57:894-897.
Menzel, C.M. and D.R. Simpson. 1995. Temperature above 20 °C reduced flowering in lychee (Litchi chinensis Sonn.). J. Hort. Sci. 70:981-987.
Nishijima, T. and N.Katasura.1989. A modified micro-drop bioassay using dwarf rice for detection of femtomol qualities of gibberellin. Plant Cell Physiol.30(5) : 623-627.
Subhadrabandhu, S. 1991. Lychee and longan cultivation in Thailand. Faculty of Agriculture, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. 40p.
Thanyarpar, T. 1998. Physiological aspects on flowering of lychee and longan: A Review. J. Japan. Soc. Hort. Sci. 67(6): 1161-1163.
Thongumpai, P., Jutamanee, K., Sethapakdi, R. and Subhadrabandhu, S. 1991. Variation in level of gibberellin like substances during vegetative growth and flowering of mango cv. Khieo Sawoey. Acta Horticulturae 291:106-108.