การเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารไก่เนื้อ 1. อาหารที่มีกากเรปซีดหรือกากทานตะวันหรือมีโปรตีนและฟอสฟอรัสระดับต่ำ

Main Article Content

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
รุ่งนภา ลิ้มเจริญพร
สุรภี ทองหลอม

บทคัดย่อ

ผลการใช้เอนไซม์ไฟเตสในไก่เนื้อ ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 การทดลองคือ ในอาหารที่ใช้กาก  เรปซีดกากทานตะวันและอาหารที่มีโปรตีนและ/หรือฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้ (aP) ระดับต่ำกว่าปกติ


การทดลองที่ 1 ใช้กากเรปซีดแทนที่กากถั่วเหลืองระดับ 0.50 และ 75% คงที่ตลอดการทดลองเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ในสูตรอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานเท่ากันทุกกลุ่ม และมีปริมาณของ aP และแคลเซียม (Ca) ตามระดับที่แนะนำโดย NRC (1994) เสริมและไม่เสริมด้วยไฟเตสระดับ 600 ก/ตัน หรือเท่ากับ 3,000 FTU/kg และ เอนไซม์ NSP 100 ก/ตันอาหาร  การทดลองที่ 2 ใช้กากทานตะวันแทนที่กากถั่วเหลืองระดับ 0, 50 และ 100% ในอาหารที่เสริมและไม่เสริมด้วยไฟเตส และเอนไซม์ NSP ระดับ 120 (หรือเท่ากับ 600 FTU/kg) และ 100 ก/ตันอาหาร ตามลำดับ  ส่วนการทดลองที่ 3 เสริมไฟเตส (120 ก/ตันอาหาร) และไม่เสริมในอาหารที่มีโปรตีนและ/หรือ aP ปกติและต่ำกว่าปกติ โดยจะมีโปรตีนต่ำลง 1.5% ในช่วงไก่อายุ 4-7 สัปดาห์ ส่วน aP ที่ต่ำนั้น มีปริมาณเท่ากับ 50-55% ของสูตรปกติตลอดระยะการทดลอง


ผลจากการศึกษาปรากฏว่า น้ำหนักตัวเพิ่ม และอาหารที่กินลดลงอย่างมีนัยสำคัญตามการเพิ่มขึ้นของกากเรปซีดในอาหาร แต่ไม่มีผลเสียต่ออัตราแลกน้ำหนัก (FCR) แสดงให้เห็นว่า กากเรปซีดควรใช้แทนที่กากถั่วเหลืองในระดับต่ำกว่า 50% ส่วนกากทานตะวัน สามารถใช้แทนที่กากถั่วเหลืองได้ที่ 50% โดยไม่มีผลเสียต่อน้ำหนักตัวเพิ่ม แต่มี FCR เพิ่มขึ้น  การเสริมไฟเตส 5 เท่า ของระดับที่แนะนำคือ 3000 เปรียบเทียบกับ 600 FTU/kg. อาหาร ไม่มีผลเสียต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่เนื้อ ในสูตรอาหารที่มี aP และ CP ระดับปกติ การเสริมไฟเตสและเอนไซม์ NSP ไม่มีส่วนช่วยให้สมรรถภาพการผลิตดีขึ้นไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้กากเรปซีดและกากทานตะวันในอาหาร อย่างไรก็ดีเมื่อเสริมไฟเตสในอาหารที่มี aP และ CP ต่ำ มีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  ในขณะที่กินอาหารน้อยลง และ FCR มีแนวโน้มดีขึ้น เป็นการชี้ให้เห็นว่าไฟเตสสามารถปลดปล่อย P และ/หรือโปรตีน ซึ่งรวมตัวกับกรดไฟติกออกมาใช้ประโยชน์ได้ การนำไฟเตสไปใช้ในอาหารสัตว์จึงแนะนำให้ใช้เมื่ออาหารนั้นมี aP และ/หรือ CP ต่ำลงกว่าระดับปกติ 50 และ 8% ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2536. ผลการใช้เมล็ดหรือกากเมล็ดทานตะวันระดับสูงในอาหาร เป็ดไข่. ว. เกษตร 9(2): 130-143.
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2537. การใช้กากเรปซีดเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก 1. ไก่ ไข่. ว.เกษตร, 10(2): 136-147.
Broz, J. , P. Oldale, A.H. Perrin-Voltz, G. Rychen, J. Schulze, C.S. Nunes, and C. Dimoes-Nunes, 1994. Effects of supplemental phytase on performance and phosphorus utilization in broiler chickens fed a low phosphorus diet without addition of inorganic phosphates. Br. Poultry Sci., 35: 273-280.
Dogan, K. and A.M. Aghazadeh, 1989. Research on the use of sunflower and soybean oil meals in broiler rations. Doga Turkarim ve Omanilik Dergiri., 13: 182-193.
Jan, D.F. and C.D. Lee. 1996. Effect of supplemental phytase on the availability of phosphorus in cornsoybean meal diets for broiler. In: Proc. of 8th AAAP Anim. Sci. Congress. Vol 2, pp 806-807, Tokyo, Japan.
Kwon, K., I.K. Han, S.W. Kim, I.S. Shin, and K.S. Sohn. 1995. Effects of microbial phytase on performance, nutrient utilization and phosphorus excretion of broiler chicks fed corn-soy diets. Korean J. Anim. Sci., 37(5): 539-550.
Mroz, Z. A.W. Jongloed and P.A. Kemme. 1994. Apparent digestibility and retention of nutrients bound to phytate complexes as influenced by microbial phytase and feeding regimen in pigs. J. Anim. Sci., 72: 126-132.
Nassar, A.R. and G.H. Arscott. 1986. Canola meal for broiler and the effect of a dietary supplement of iodinated casein on performance and thyroid status. Nutr. Rep. Int., 34: 791-799.
NRC (National Research Council). 1994. Nutrient Requirements of Poultry, 9th ed. National Academy Press, Washington, D.C., USA.
Rad, F.H. and K. Keshavarz. 1978. Evaluation of sunflower meal for soybean meal in poultry diets. Poultry Sci., 55: 1757-1765.
Ravindran, V. 1996. Phytase: value in improving phosphorus availability in broiler diets. Paper presented at BASF “Natuphos Day” Seminar, Bangkok, Thailand
Salih, F.I.M. and S.H. Taha. 1989. Sunflower seed meal as a protein concentrate in diets for broiler chicks. Sudan J. Anim. Prod., 2: 27-37.
Sch” ne, F., G. Jahreis and G. Richter. 1993. Evaluation of rapeseed meals in broiler chicks: Effect of iodine supply and glucosinolate degradation by myrosinase or copper. J. Sci. Food Agr., 61: 245-525.
Sch” ner, F.J. P.P. Hoppe, G. Schwarz and H. Wiesche. 1993. Comparison of microbial phytase and inorganic phosphate in male chickens: The influence on performance data, mineral retention and dietary calcium. J. Anim. Physiol. and Anim. Nutr., 69(5): 235-244.
Sebastian, S., S.P. Touchburn, E.R. Chavez and P.C. Lague. 1996. The effects of supplemental microbial phytase on the performance and utilization of dietary calcium, phosphorus, copper and zinc in broiler chickens fed corn-soybean diets. Poultry Sci., 75(6): 729-736.
Tangtaweewipat, S. and B. Cheva-Isarakul. 1996. The use of Rapeseed Meal as a Protein Source in Poultry Diets, Report submitted to Institute for Sci. and Technol. Res. and Dev., Chiang Mai Univ. Chiang Mai, Thailand.
Zatari, I.M. and J.L. Sell. 1990. Sunflower meal as a component of fat supplemented diets for broiler chickers. Poultry Sci., 69: 1503-1507.