การปรับปรุงองค์กรสนับสนุนงานวิจัย

            ในยุคภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ หรือยุคไอเอ็มเอฟ  อย่างปัจจุบัน ใครไม่คิดถึงหรือไม่พูดถึงเรื่องการปรับปรุงองค์กร อาจจะถูกหาว่าเชย ทั้งๆที่ส่วนใหญ่ที่พูดกัน หรือที่สามารถรับทราบได้จากสื่อต่างๆ มักจะสรุปได้เพียงคำว่า การปรับแต่งองค์กรควรจะต้องนำไปสู่ภาวะ “ จิ๋วแต่แจ๋ว” คือ ขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพ เพื่อประหยัดงบประมาณ แต่มีผลงานออกมามากนั่นเอง

            แนวคิดนี้ ปัจจุบันยังไม่มีใครยืนยันได้ว่าเป็นแนวคิดที่ถูกต้องเสมอไป แต่ส่วนใหญ่ก็พยักหน้าเออออไปก่อน เพราะกระแสการปรับเปลี่ยนแบบดังกล่าวแรงเหลือเกิน จนไม่มีใครกล้าต่อต้าน เพราะกลัวจะกลายเป็นคนเชย หรือเป็นแกะดำของวงการไป คงต้องรอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ บางทีคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่อง "ทางสายกลาง" อาจเป็นทางออกที่ดีกว่าก็ได้ อย่างไรก็ตามแนวคิดที่อาจจะระบุไว้ตรงนี้ได้เลยก็คือการปรับแต่งองค์กรแต่ละองค์กรไม่น่าจะมีสูตรสำเร็จที่เหมือนกัน และใช้ได้กับทุกองค์กร ทางที่เหมาะสมคือ องค์กรควรถูกปรับปรุงบนพื้นฐานวัฒนธรรมดั้งเดิมที่องค์กรนั้น ๆ มีอยู่ แล้วพยายามปรับไปสู่แนวทางของ Profit oriented organization ซึ่งคำว่า Profit ไม่จำเป็นจะต้องเป็นตัวเงินเสมอไป

            การปรับปรุงองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ก็คงจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรประเภทผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยหรือองค์กรผู้ดำเนินงานวิจัย วิธีการหรือแนวทางปรับปรุงควรเป็นอย่างไร คงจะไม่ใช่หัวข้อที่จะกล้าเสนอแนะได้ตรงนี้ แต่มีข้อควรพิจารณาที่น่าจะต้องเอ่ยถึง คือ การปรับปรุงองค์กรให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา "ระบบเครือข่ายวิจัย" แนวทางดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาที่เราประสบอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมา คือ ความซ้ำซ้อนของงานวิจัย นอกจากนี้ยังน่าจะส่งผลดีในการเปิดโอกาสให้มีการระดมทรัพยากรบุคคล เครื่องมือ ประสบการณ์ และงบประมาณมาดำเนินงานวิจัยที่เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริงอีกด้วย ตรงนี้ความสำเร็จของการปรับปรุงองค์กรน่าจะอยู่ที่การพัฒนาระบบติดต่อสื่อสารทางการวิจัยภายในองค์กร และระหว่างองค์กรให้มีความเข้มแข็งและมีอิสระเสรีอย่างเต็มที่

            องค์กรที่ปรับปรุงใหม่ ควรมีโครงสร้างแบบแบน มากกว่าสูงหรือลึก เพื่อให้มีกระบวนการทำงานที่กระชับ สามารถตอบสนองต่อปัจจัยแวดล้อมได้เร็ว สามารถสร้างผลงานได้ในเวลาอันสั้นและสามารถปรับแต่งนโยบายได้ง่าย

            นอกจากนี้องค์กรที่ปรับปรุงใหม่ต้องมีระบบประเมินผล ระบบตรวจสอบ และ ระบบการตอบแทนที่เหมาะสมและชัดเจน เพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการบริหารการจัดการ

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-19

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของโป๊ยเซียน

รุ่งนภา โพธิ์รักษา, อดิศร กระแสชัย

1-8

การปรับปรุงพันธุ์เห็ดนางรมสีเทาโดยการผสมพันธุ์

ภัทราภรณ์ อิสระทะ, วิเชียร ภู่สว่าง

9-18

การเปรียบเทียบพันธุ์ผักกาดเขียวปลี

โชคชัย ไชยมงคล, มณีฉัตร นิกรพันธ์, ตระกูล ตันสุวรรณ

38-42

การเลี้ยงขุนโคนมลูกผสมโฮลสไตน์ฟรีเชียนเพศผู้ตอนและไม่ตอนด้วยอาหารข้น 2 ชนิด

โชค มิเกล็ด, เทอดชัย เวียรศิลป์ , นิรันดร โพธิกานนท์ , วิสูตร ศิรินุพงษานันท์

58-65

การเสริมเอนไซม์ไฟเตสในอาหารไก่เนื้อ 1. อาหารที่มีกากเรปซีดหรือกากทานตะวันหรือมีโปรตีนและฟอสฟอรัสระดับต่ำ

บุญล้อม ชีวะอิสระกุล, สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์, รุ่งนภา ลิ้มเจริญพร, สุรภี ทองหลอม

76-87