การปรับปรุงพันธุ์เห็ดนางรมสีเทาโดยการผสมพันธุ์

Main Article Content

ภัทราภรณ์ อิสระทะ
วิเชียร ภู่สว่าง

บทคัดย่อ

การผสมแบบโมโน-โมโน (Mono-mono crossing) ระหว่างเห็ดนางรมสีเทาพันธุ์ CM5 กับ พันธุ์ลูกผสม KDCM4(A4) ทำเพื่อปรับปรุงเห็ดนางรมสีเทา คัดได้ลูกผสม 9 สายพันธุ์ที่มีรูปร่างและคุณภาพดีโดยมีการเปรียบเทียบผลผลิตของลูกผสมทั้งเก้า ซึ่งต่อมาคัดเหลือ 6 สายพันธุ์ (Q1-Q6) ที่มีผลผลิตสูงเพื่อใช้ศึกษาต่อไป สายพันธุ์ Q1 ให้ผลผลิตสูงสุด การผสมแบบไดมอน (Di-mon) เป็นการทำผสมระหว่างเส้นใยนิวเคลียสเดียว (Monokaryon) จาก Q1 กับเส้นใยนิวเคลียสคู่ (Dikaryons) จาก Q1-Q6 และพันธุ์พ่อแม่อื่นอีกห้าสายพันธุ์คือ KD1, KD2, KDCM2, KDCM3, KDCM4(A4) คัดลูกผสมได้ 9 สายพันธุ์ที่มีลักษณะและคุณภาพดีจากนั้นนำมาเปรียบเทียบผลผลิตกับพันธุ์พ่อแม่ที่เป็นเห็ดนางรมสีเทาพันธุ์ CM5 กับเห็ดนางรมสีขาว CM1 หรือชนิดฟลอริดา ที่อุณหภูมิห้องเห็ดนางรมชนิดฟลอริดาให้ผลผลิตสูงกว่าลูกผสมแบบ Di-mon ของกลุ่มที่ให้ผลผลิตสูง อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ Di-mon เหล่านี้จะให้ผลผลิตระดับเดียวกับสายพันธุ์เริ่มต้นคือ เห็ดนางรมสีเทาพันธุ์ CM5 ที่เพาะในห้องเย็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ. 2525. การเพาะเห็ดบางชนิดในประเทศไทย. โรงพิมพ์มิตรสยาม, กรุงเทพฯ. 138 น. ณัฏฐยา คำบุญรัตน์. 2539. อิทธิพลของอัตราส่วนขี้เลื้อยไม้ฉำฉาต่อขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่มีต่อผลผลิตเห็ดนางรมสีขาว. สัมมนาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 15 น.
ปัญญา โพธิ์ฐิติรัตน์. 2532. เทคโนโลยีการผลิตเห็ด. ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. 590 น.
สุวรรณี จันทร์ตา. 2540. การคัดเลือกโมโนคาริออนของเห็ดนางรมเพื่อการผสมพันธุ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 77 น.
อานนท์ เอื้อกระกูล. 2530. การเพาะเห็ดฟาง. แสงทวีการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 258 น.
Bresinsky, A., M. Fischer, B.Meixmer and W. Paulus. 1987. Speciation in Pleurotus. Mycologia, 79 (2): 234-245.
Eger, G. 1978, Biology and breeding of Pleurotus ostreatus, p.497-517. In S.T.Chang and W.A. Hays (eds). The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press, New York.
Ergenio, C.P. and N.A. Anderson. 1968. The genetics and cultivation of Pleurotus ostreatus. Mycologia. 60: 627-634.
Kalberrer, P.P. 1974. The cultivation of Pleurotus ostreatus: Experiments to elucidate the influence of different culture conditions on the crop yield Mushroom ScienceIX (part I): 653-661.
Muller, J. 1989. Enzymatic regulation of temperature dependent fruit body morphogenesis in Pleurotus ostreatus. Mushroon Science XII (part I): 139-149.
Raper, J.R. 1978. Sexuality and Breeding, p. 83-117. In S.T. Chang and W.A. Hays (eds). The Biology and Cultivation of Edible Mushroom. Academic Press, New York.