การเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในใบและก้านช่อดอก-ช่อผล ของลำไยพันธุ์ดอในระยะดอกเริ่มบานถึงผลแก่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ปริมาณธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) และเหล็ก (Fe) ในใบที่ 2 ใต้ช่อดอก-ช่อผล และก้านช่อดอก-ช่อผล ของลำไยพันธุ์ดอทุกเดือนตั้งแต่ระยะดอกเริ่มบาน(เดือนมีนาคม) ถึงระยะผลแก่ (เดือนสิงหาคม) ที่สาขาไม้ผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ในส่วนของใบ ปริมาณ N สูงในระยะดอกบาน (1.80%) และลดลงในช่วงการพัฒนาของผล โดยมีค่าต่ำสุดเมื่อผลแก่ (1.46%) ในทางกลับกัน Ca และ Mg มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้นปริมาณ Zn ในใบเพิ่มขึ้นในระยะแรกของการติดผล (เม.ย. -พ.ค. ) และลดลงในระยะสร้างเนื้อ (มิ.ย. -ส.ค.) ส่วน Fe เพิ่มขึ้น 2 ระยะคือ ในช่วงเดือนพ.ค-มิ.ย. และในเดือน ส.ค. ขณะที่ปริมาณของ P, K, Mn และ Cu ค่อนข้างคงที่ตลอดช่วงของการพัฒนาผล การเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในส่วนของก้านช่อดอก-ช่อผล พบว่า N และ P มีแนวโน้มลดลงในระยะติดผลอ่อน (เม.ย.) และมีค่าต่ำสุดเมื่อผลแก่ ในขณะ Ca มีค่าต่ำสุดในระยะดอกบาน (0.78%) และเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะติดผล (1.34%) โดยยังอยู่ในระดับที่สูงจนกระทั่งผลแก่ปริมาณของ K ลดลงอย่างมากในระยะสร้างเนื้อและคงระดับนั้นจนถึงระยะผลแก่ ระดับของ Mg, Mn และ Cu ลดลงและไม่เปลี่ยนแปลงภายหลังการติดผล Zn ลดลงในช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. และกลับเพิ่มสูงอีกครั้งในระยะผลแก่ ส่วน Fe มีค่าค่อนข้างคงที่ตลอดช่วงการพัฒนาของผล (91-152 ppm) แต่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะผลแก่ (411 ppm)
โดยทั่วไปปริมาณของ N, P และ K ในส่วนของก้านช่อดอก-ช่อผล มีค่าสูงกว่าในส่วนของใบ ในขณะที่ Ca, Mg และ Mn ในใบมีค่าสูงกว่าในก้านช่อดอก-ช่อผล
Article Details
References
ยงยุทธ โอสถสภา และสุรเดช จินตกานนท์. 2521. คำบรรยายวิชาธาตุอาหารพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สัญชัย สายทอง. 2538. การวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับผลผลิตของลำไยพันธุ์ต่างๆ. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่.
AOAC. 1984. Official Methods of Analysis. Association of Official Analytical Chemists, Washington, D.C.
Caruso, T., P. Inglese, A. Motisi and F. Sottle. 1996. Growth analysis and mineral content in pistachio (Pistacia vena L.) inflorescence and its components. J. Hort. Sci. 71(6): 919-924.
Clark, C.J.and G.S. Smith. 1990. Seasonal changes in the composition, distribution and accumulation of mineral nutrients in persimmon fruit. Scientia Hort.42: 99-111.
Menzel, C.M. and D.R. Simpson. 1987. Lychee nutrition a review. Scientia Hort. 31: 195-224.
Menzel, C.M., M.L. Carseldine and D.R. Simpson. 1987. The effect of leaf age on nutrient composition of nonfruiting litchi (Litchi chinensis Sonn.) J.Hort. Sci. 62 (2): 273-279.
Menzel, C.M., M.L. Carseldine and D.R. Simpson. 1988. The effect of fruiting status on nutrient composition of litchi (Litchi chinensis Sonn.) during the flowering and fruiting season. J. Hort. Sci. 63 (3): 547-556.
Menzel, C.M., M.L. Carseldine, G.F. Haydon and D.R. Simpson. 1992. A review of existing and proposed new leaf nutrient standards for lychee. Scientia Hort. 49: 33-53.
Reuter, D.J. and J.B. Robinson. 1986. Plant Analysis. An Interpretation. Manual Inkata Press. pp 218. Shear, C.B. and M. Faust. 1980. Nutritional ranges in deciduous tree fruit and nuts. Hort. Rev. 2. 142- 163.
Verheij, E.W.M and R.E. Coronel. 1992. Plant resources of South East Asia No. 2. Edible fruits and nuts. Prosea foundation, Bagoo, Indonesia. p. 146-151.