นิตยสาร Time ฉบับวันที่ 9 พฤศจิกายน 2541 ได้ลงตีพิมพ์บทความเรื่อง Attack of the Gene Pirates ของ McGirk, Tim จาก New Delhi ว่า "ความก้าวหน้าของวิทยาการคอมพิวเตอร์, พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพอื่น ๆ ได้ก่อให้เกิดกระแสการล่าผลผลิตทางชีวภาพในเขตป่าดงดิบโดยทั่วไปในเขตร้อนของโลก คล้ายยุคการล่าทองคำในอดีต
นักวิทยาศาสตร์จากหลายชาติ จากทั้งองค์กรภาครัฐและบริษัทเอกชนต่างมุ่งหน้าเข้าไปในเขตป่า อันอุดมสมบูรณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็ฯ ใรทวีปเอเชีย แอฟริกา หรืออเมริกาใต้ เพื่อแสวงหา เก็บรวบรวมพันธุ์พืช สัตว์และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ไป แม้แต่ภูมิปัญญาของชนพื้นเมืองก็ไม่ละเว้น แม้แต่รัฐบาลประเทศเจ้าของพื้นที่ ก็ไม่อาจดำเนินการอะไรกับ นักวิทยาศาสตร์ขี้ขโมย (Pirates) เหล่านี้ เพราะปัจจุบันการขนย้ายตัวอย่างพืช/สัตว์/จุลินทรีย์ ออกนอกประเทศไม่ต้องใช้ปริมาณมากเป็นตัน ๆ อีกต่อไปปริมาณเพียงเล็กน้อยสำหรับการแยกวิเคราะห์ DNA และ Genetic code ในระดับห้องปฏิบัติการก็ถือว่ามากเกินพอแล้ว
ปัจจุบันในบางห้องปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในประเทศพัฒนาแล้วได้รวบรวม Gene sample ไว้ถึง 100,000 ชนิด หน่วยงานที่ครอบครองสิ่งเหล่านี้ไว้ ได้แก่ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยารักษาโรคและธุรกิจเกษตรต่างๆ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ไม่เคยจ่ายค่าเชื้อพันธุ์หรือผลกำไรใด ๆ กลับไปให้ประเทศเจ้าของ Gene ดังกล่าวเลย
ท่านคิดว่าอย่างไร? เราในฐานะผู้กำเนิดบนผืนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านพันธุกรรมพืช/สัตว์/จุลินทรีย์ (ถึงแม้จะศูนย์หายไปมากแล้ว) เราควรจะทำอย่างไร เราควรจะอนุรักษ์ด้วยวิธีใดจึงจะทันกับสภาวะการแข่งขัน และการขโมยพันธุกรรมในระดับนานาชาติ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราควรอนุรักษ์เชิงปกป้องหรืออนุรักษ์ พร้อมการนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและพัฒนาจนถึงระดับการจดลิขสิทธิ์ Gene หรือ พันธุ์พืช/ สัตว์ ให้ได้ก่อนชาติอื่นใด
หรือเราควรจะปล่อยให้ถูกแย่งชิงไปอย่างกรณีของพืชสมุนไพรหลาย ๆ ชนิด ดังที่เราท่านทราบกันอยู่
เผยแพร่แล้ว: 2020-10-20