การปลูกข้าวโพดส่วนเกินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาทดลองดำเนินการที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block มี 4 ซ้ำ ในแต่ละซ้ำมีวันที่ทำการตัดแถวเกินออกที่อายุ 17 วัน 24 วันและ 31 วัน (หลังงอก) เป็นกรรมวิธี นอกจากนี้ในแต่ละซ้ำ นี้ยังมีแปลงที่ไม่มีการตัดแถวเกินออกเพื่อเป็นแปลงเปรียบเทียบ (Check) และแปลงที่ปลูกด้วยระยะปลูกปกติคือ 25x75 ซม. ดังนั้นแปลงที่มีแถวเกินจึงมีระยะปลูกเริ่มต้น 25x37.5 ซม.
จากผลการทดลองพบว่า การตัดแถวเกินออกภายใน 24 วัน ไม่มีกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของต้นหลัก แต่การตัดที่ 31 วัน มีผลทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 26% จากแปลงที่ไม่มีการปลูกแถวเกิน ซึ่งให้ผลผลิต 5.26 ตัน/เฮคแตร์ ส่วนแปลง Check ให้ผลผลิตลดลง 47% การตัดแถวเกินที่ 17 วัน ให้ผลผลิตส่วนที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ 1075 กก./เฮคแตร์ และมีไนโตรเจนเฉลี่ย 3.58% ในขณะที่การตัดที่ 31 วัน ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2,400 กก./เฮกแตร์ แต่ไนโตรเจนลดลงเหลือ 2.90% ข้อมูลดัชนีพื้นที่ใบและเปอร์เซนต์การรับแสงในระหว่างการเจริญของพืชได้บันทึกไว้ในรายงานนี้
Article Details
References
เฉลิมพล แซมเพชร. 2540. สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. 285 หน้า, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิพรรณ พุกภักดี. 2533. วิทยาศาสตร์การผลิตพืชตระกูลถั่ว. 420 หน้า, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Brougham, R.W. 1956. Effect of intensity of defoliation on regrowth of pasture. Aust. J. Agric Res. 7: 377-387.
Niciporovic, A.A. 1960. Photosynthesis and the theory of obtaining high crop yields. In J.N. Black and D.J. Watson, ed. Field Crop Abstr. 13(3): 169 175.
Ofori, F. and W.R. Stern. 1988. Cereal-legumes intercropping systems. Adr. Agron. 41: 41-90.
Shibles, R.M. and C.R. Weber. 1965. Leaf area, solar radiation interception and dry matter production by soybean. Crop Sci. 5: 575-577.
Snyder, F.W. and G.E. Carlson 1984. Selecting for parcome titioning of photosynthetic products in crops. Adv. Agron. 37: 47-72.
Watson, D.J. 1985. The dependence of net assimilation rate on leaf area index. Ann. Bot. N.S. 22: 37-54
Yoshida, S. 1983. Rice. Symposium on Potential Productivity of Field Crops under Different Environment. International Rice Research Institule, Los Banos. Laguna, Philippines.