การตอบสนองของสตรอเบอรี่พันธุ์ไทโอก้าต่ออุณหภูมิ, จิบเบอเรลลิค แอซิด และเอทธิฟอน

Main Article Content

พิทยา สรวมศิริ

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางขยายช่วงฤดูเพาะปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเพาะปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์ Tioga ภายใต้สภาพอุณหภูมิปกติ (26-38 °ซ) เปรียบเทียบกับภายใต้สภาพอุณหภูมิสูงมาก (26-38 °ซ) และศึกษาปัจจัยร่วมระหว่างอุณหภูมิกับจิบเบอเรลลิคแอซิด หรืออุณหภูมิกับเอทธิฟอนพบว่าอุณหภูมิที่สูงถึง (38 48 °ซ) จะทำให้การ เจริญเติบโตของใบ พัฒนาการของไหล และผลผลิตต่ำลงกว่าที่อุณหภูมิ 26-38 °ซ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การตอบสนองต่อ GA3 จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย กล่าวคือ  ที่อุณหภูมิระดับ 26-38 °ซ ระดับความเข้มข้น GA3 25-50 สตล. ให้ผลดีที่สุด แต่ที่อุณหภูมิสูงถึง 38-48 °ซ ต้องเพิ่มความเข้มข้น GA3 ขึ้นถึง 100 สตล. จึงจะเพิ่มการเจริญเติบโตได้ Ethefon ทำให้การเจริญเติบโตของสตรอเบอรี่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับความเข้มข้นสูงถึง 960 สตล. ซึ่งเมื่อใช้ในสภาวะอุณหภูมิสูง จะทำให้พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบเล็ก ก้านใบสั้น ไม่ออกดอกและ ไม่ติดผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูพงษ์ สุกุมลนันท์. 2531. สตรอเบอรี่. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 216 น.
นคร เหลืองประเสริฐ. 2537. ผลของจิบเบอเรลลิค แอซิด ที่มีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของสตรอ เบอรี่พันธุ์ไทโอก้าที่ปลูกในฤดูหนาวบนที่สูงของจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์. 28: 22-26.
พิทยา สรวมศิริ. 2541. รายงานผลการวิจัย เรื่องการผลิตไหลสตรอเบอรี่ปลอดโรคเชิงการค้า. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจิตร วงษ์วิทย์กรณ์ และสุรนันต์ สุภัทรพันธุ์. 2521. แนวทางการขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ วารสารพืชสวน 13(1): 21-32.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2538. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 213 น.
สังคม เตชะวงศ์เสถียร. 2532. เอกสารประกอบการสอนวิชา 113422 การผลิตไม้ผลกึ่งร้อน. วิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Hipkins, M.F. 1984. Photosynthesis in (ed.) M.B. Wilkins. Advance Plant Physiology. Pitman Publishing Ltd. London. 514 p.
Dale A., D.C. Elfving and C.K. Chandler. 1997. Benzyladenine and gibberellic acid increase runner production in day nutral strawberries. Hort. Abstr. 37: 7.
Dennis, F.G. and H.O.Bennett. 1969. Effect of gibberellic acid and deflowering upon runner and inflorescence development in an everbearing strawberry. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 94: 534-537.
Oda, Y. 1995. General aspects of strawberry in Japan. in. Strawberry Production in Japan. Yokohama National University. Yokohama.
Sachs, M. and E. Iszak. 1974. Comparison of chemical control and manual runner removal in summer planted strawberries. Hort. Abstr. 46:4.
Sojak, S. and I. Hricoverky. 1983. Photosynthetic intensity of some small fruits. Hort. Abstr. 53: 317. Tafazoli, E. and B. Shaybany. 1978. Influence of Nitrogen, deblossoming and growth regulator treatment on growth flowering and runner production of the "Gem" everbearing strawberry. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 103(3) 372-374.