การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำนมเป็นน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อสำหรับผลิตน้ำเชื่อแช่แข็ง

Main Article Content

อุดม ช่างสุพรรณ
พรชัย สุวรรณาภิรมย์

บทคัดย่อ

ศึกษาถึงผลการใช้น้ำยาเจือจางน้ำเชื้อซึ่งทำมาจากผลิตภัณฑ์นม (Milk extender, ME ชนิดต่างๆในการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็งเปรียบเทียบกับการใช้น้ำยาเจือจางน้ำเชื้อชนิด Egg yolk- tris-glycerol (ETG) ที่เป็นน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อมาตรฐาน โดยนำเอา น้ำเชื้อซึ่งรีดเก็บได้จากพ่อโคพันธุ์โฮลสไตน์ ฟรีเชี่ยนจำนวน 3 ตัว ไปเจือจางกับน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อ 4 ชนิด  คือ ETG, หางนมผง ละลายน้ำ + กลีเซอรอล (Skim milk-glycerol, SMG), นมสดพาสเจอไรซ์ + กลีเซอรอล (Pasteurized whole milk glycerol, PMG) และนมสด UHT + กลีเซอรอล (UHT whole milk glycerol, UMG) โดยให้มีระดับกลีเซอรอลเมื่อเจือจางขั้นสุดท้ายแล้วเป็น 7% ในทุก ทรีทเมนต์นำน้ำเชื้อที่เจือจางแล้วไปบรรจุในหลอดพลาสติกขนาด 0.25 มล. แล้วนำไปแช่แข็ง ทำการตรวจดูอัตราการเคลื่อนไหวรายตัวหลังจากทำให้ละลาย (Post thaw motility, PTM) สองครั้งคือ หลังจาก ละลายทันที (0 ชั่วโมง) และหลังจากเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 37 °ซ นาน 5 ชั่วโมง พบว่า  ความแตกต่างของค่า PTM ที่ 0 ชั่วโมงระหว่าง ETG และ UMG ไม่มีนัยสำคัญ (36.76±1.69% และ 35.49 + 1.69%) และดีกว่า SMG และ PMG (23.54 ±1.69% และ 24.85±1.69%) (P<0.05) ส่วน PTM ที่ 5 ชั่วโมง ของ ETG มีค่าแตกต่างจาก SMG, PMG และ UMG (P <0.05) โดย ETG ดีที่สุด (13.62±1.38%) รองลงมาเป็น UMG (9.26 + 1.38%) ดีกว่า SMG และ PMG (5.21±1.38% และ 2.07±1.38%) (P<0.05) ผลจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า UMG น่าจะนำมาใช้ทดแทน ETG ได้ในการผลิตน้ำเชื้อพ่อโคพันธุ์แช่แข็ง


จากการคำนวณราคาต้นทุนสำหรับน้ำยาเจือจางน้ำเชื้อ แต่ละโด๊ส (0.25 มล.) ของ ETG, SMG, PMG และ UMG มีค่าเท่ากับ 0.093, 0.028, 0.030 และ 0.034 บาท ตามลำดับ ซึ่งถ้าหากจะใช้ UMG ทดแทน ETG ในการผลิตน้ำเชื้อแช่แข็ง จะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้โด๊สละ 0.059 บาท

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ จันทลักขณา. 2527. สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 5. บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนา พานิช จำกัด . กรุงเทพฯ. 468 น.
นิธิยา รัตนาปนนท์. 2527. เคมีนมและผลิตภัณฑ์นม. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 160 น.
นรินทร์ ทองศิริ. 2528. เทคโนโลยีอาหารนม. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร. คณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่. 181 น.
อุดม ช่างสุพรรณ. 2538. ส่วนประกอบของน้ำนมพร้อมดื่มชนิดต่างๆ. ศูนย์วิจัยการผสมเทียมเชียงใหม่. เชียงใหม่. (เอกสารไม่ได้เผยแพร่)
Chen, Y., R.H. Foote, C. Tobback, L. Zhang and S. Hough. 1993. Survival of bull spermatozoa seeded nd frozen at different rates in egg yolktris and whole milk extender. J. Dairy. Sci. 76: 1028
Foote, R.H. 1970. Influence of extender, extension rate, and glycerolating technique on fertility of frozen bull semen. J. Dairy Sci. 53: 1478.
Foote, R.H. and J. Arriola. 1987. Motility and fertility of bull sperm frozen-thawed differently in egg yolk and milk extenders containing detergent. J. Dairy. Sci. 70: 2642.
Foote. R.H., Y.Chen and C.C.Brockett. 1993. Fertility of bull spermatozoa frozen in whole milk extender with Trehalose, Taurine or blood serum. J. Dairy. Sci. 76: 1908.
Johnson, P.E., R.J.Flipse and J.O.Almquist.1955. Diluter of bovine semen. VI. The effect of cystine hydrochloride on the livability of bull spermatozoa in unheated skimmilk. J.Dairy Sci.38: 53 Karabinus,D.S. and D.P.Evenson. 1991. Effect of egg yolk citrate and milk extenders on chromatin structure and viability of cryopreserved bull Ciga sperm. J. Dairy. Sci. 74: 3836.
Salisbury,G.W. and N.L.Van Demark. 1961. Physiology of Reproduction and Artificial Insemination of Cattle. ed. W. H. Freeman & Co. , Sanfrancisco. CA.
Schenk, J.L., R.P. Amann and C.H. Allen, 1987. Effect of extender and insemination dose on postthaw quality and fertility of bovine sperm. J. Dairy. Sci. 70: 1458.
Senger, P.L.J.R.Mitchell and J.O.Almquist. 1983. Influence of cooling rates and post thaw viability of bovine spermatozoa packaged in .25 and .5 ml. French straws.J. Anim. Sci.56: 1261
Taylor,J.1991. Bovine Semen Collection and Processing Techniques. Revised 2nd.ed., Saskatchewan Agriculture Development Fund, Saskatchewan, Canada.