การเจริญเติบโตของพืชสกุลหงส์เหินบางชนิด

Main Article Content

กำปั่น ธรรมสนิท
อดิศร กระแสชัย
วิไลวรรณ อนุสารสุนทร

บทคัดย่อ

การศึกษาหาชื่อชนิดของหงส์เหินที่รวบรวมได้ 6 ชนิด ได้แก่ Globba villosula Gagnep., S. aff. obscura K.Lar., G. rosea Gagnep., G. candida Gagnep., G. schomburgkii Hk.f. lla: G. aff. siamensis (Hemsl.) Hemsl. พบว่าพืชสกุลหงส์เหินทั้ง 6 ชนิดนี้มีความแตกต่างกันใน ขนาด สีของใบ สีใบประดับ และ rhizome จากการนับจำนวนโครโมโซมพบว่า G, villosula Gagnep. กับ G. aff. obscura K.Lar. มีจำนวนโครโมโซมเท่ากันคือ 2n=4x =32 ส่วน G. schomburgki Hk.f. มีจำนวนโครโมโซม 2n=6x= 48 การใช้เทคนิคอิเล็กโทรโฟรีซีสเพื่อการศึกษาไอโซไซม์ peroxidaes และ esterase สามารถใช้แยกชนิดของหงส์เหินทั้ง 6 ชนิดออกจากกันได้


สภาพวันยาวที่ชักนำให้เกิดขึ้นในวันสั้นตามธรรมชาตินั้นสามารถทำให้ต้นหงส์เหินเจริญเติบโตต่อไปได้ โดยต้นไม่ยุบตัวมีการแตกหน่อตามปกติและสามารถออกดอกได้ สำหรับความเข้มของแสงที่มาก หรือน้อยเกินไปจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของหงส์เหิน โดยที่ความเข้มแสง 6,000 lx จะเหมาะสมกับการเจริญเติบโต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ และชาตรี ชาญประเสริฐ. 2535. การสำรวจและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรบริเวณพื้นที่ว่างในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. ว. เกษตรศาสตร์(วิทย.): 26-38.
พวงเพ็ญ ศิริรักษ์. 2539. พืชสกุลขิง-ข่าของประเทศไทย (Zingiberaceae in Thailand). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการทางพฤกษศาสตร์ เรื่องทรัพยากรพืชของเชิงเขาหิมาลัย วันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2539. ณ . สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ เชียงใหม่. 30 น.
พูนทรัพย์ สืบมา, สมเพียร เกษมทรัพย์ และพูนพิภพ เกษมทรัพย์. 2539. อิทธิพลของแสงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณคลอโรฟิลล์, อัตราการสังเคราะห์แสง และอัตราการหายใจของไทรยอดทอง, รายงานการประชุมวิชาการไม้ดอกไม้ประดับ แห่งชาติ ครั้งที่ 2, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. น. 136-145.
อัญชลี สามารถ. 2536. การจำแนกพันธุ์ไผ่โดยใช้รูปแบบไอโซไซม์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 142 น.
Holttum, R.E. 1950. Zingiberaceae of the Malay Penisula, Gardens Bulletin Singapore 3: 1-249. Johnson, C.R. and A.N. Roberts. 1971. Effect of shading Rhododendron Stock plant on flowering and rooting. J. Amer. Soc. Hort. Sci. 96 (2): 166-168.
Keng, H. 1969. Orders and Families of Malayan Seed Plant. University of Malaya, Kuala Lumpur. 418 p.
Larsen, K. 1972. Studies in the genus Globba in Thailand. Notes Royal Botanic Graden Edinburgh. 31(2): 229-241.