การให้ผลผลิตและแนวโน้มทางพันธุกรรมของสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแม่สุกรที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่

Main Article Content

ธวัชชัย อินทรตุล
พัชรินทร์ สนธิ์ไพโรจน์

บทคัดย่อ

จากการศึกษาแนวโน้มทางพันธุกรรมของสมรรถภาพการผลิตของแม่สุกร โดยศึกษาข้อมูลจากแม่สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ และดูร็อค ซึ่งเลี้ยงที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ รวมทั้งสิ้น 1,569 ครอกตั้งแต่ปี 2517-2539 โดยศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถภาพการผลิตของแม่สุกร ได้แก่ พันธุ์, ลำดับครอกที่คลอด, ฤดูกาลที่คลอด และ ปีที่คลอด พบว่า อิทธิพลของพันธุ์, ลำดับครอกที่คลอด และปีที่คลอด มีผลต่อขนาดครอกเมื่อคลอด และน้ำหนักทั้งครอกเมื่อคลอด 3 4 5 และ 8 สัปดาห์ (P<0.01) ส่วนอิทธิพลของฤดูกาลที่คลอดไม่มีผลต่อขนาดครอกเมื่อคลอด และน้ำหนักแรกคลอด (P>0.05) แต่มีผลต่อน้ำหนักทั้งครอกเมื่ออายุ 3 4 5 และ 8 สัปดาห์ (P<0.01)


อัตราพันธุกรรมของขนาดครอกเมื่อคลอด เท่ากับ 0.08 น้ำหนักทั้งครอกเมื่ออายุ 0 ถึง 8 สัปดาห์ อยู่ในช่วง 0.10-0.19 อัตราการเลี้ยงรอดอยู่ในช่วง 0.001 -0.03 น้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 0.1-0.18 และอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในช่วง 0.11-0.30


อัตราซ้ำของขนาดครอกเมื่อคลอดอยู่ในช่วง 0.08 -0.09 น้ำหนักทั้งครอกเมื่ออายุ 0 ถึง 8 สัปดาห์ อยู่ในช่วง 0.08-0.10 อัตราการเลี้ยงเลี้ยงรอดอยู่ในช่วง 0.04-0.06 น้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 0.04-0.10 และอัตราการเจริญเติบโต อยู่ในช่วง 0.02-0.07


แนวโน้มทางพันธุกรรม มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในลักษณะที่สำคัญ โดยขนาดครอกเมื่อคลอดเพิ่มขึ้น 0.11-0.12 ตัว (0.01 ตัว/ปี) น้ำหนักทั้งครอกเมื่อคลอด เพิ่มขึ้น 0.49 กิโลกรัม (0.02 กก/ปี) และ น้ำหนักทั้งครอกเมื่ออายุ 3-8 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 1.24-9.29 กิโลกรัม (0.14-0.62 กก/ปี) เมื่อสร้างสมการถดถอยจากค่าคุณค่าการผสมพันธุ์สะสมและปีที่ศึกษา พบว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในลักษณะที่สำคัญ มีค่าสัมประสิทธิ์รีเกรซชั่น (Regression coefficient) เป็นบวกในทุกลักษณะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรัญ จันทลักขณา. (2527). ควายในระบบไร่นาไทย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช. กรุงเทพฯ. 131 หน้า.
ปกรณ์ ภู่ประเสริฐ สมควร ปัญญาวีร์ และ อำนวย เลี้ยวธารากุล. (2539). สมรรถภาพการผลิตของแม่สุกร เหมยซานและลูกผสมเหมยซาน. ในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 2 ของสถาบัน เทคโนโลยีการเกษตรแม่ โจ้. ณ โรงแรมปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่
ไพจิตร อินตรา ประภาส มหินชัย และ ศรชัย คงสุข. (2538). สมรรถภาพการผลิตของแม่สุกรพันธุ์แท้ที่นำเข้า มาจากประเทศแคนาดา. ประมวลเรื่องการประชุมวิชาการปศุสัตว์ ครั้งที่ 14. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัชฎา แสนไชย. (2523). ศึกษาลักษณะการสืบพันธุ์ของแม่สุกรพันธุ์แท้ 3 พันธุ์ ณ สถานีปรับปรุงพันธุ์สุกรทับกวาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สมชัย จันทร์สว่าง. (2527). การปรับปรุงพันธุ์สัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สุทัศน์ ศิริ อภิชัย รัตนวราหะ สมจิตต์ บุญสุขใจ ปกรณ์ ภู่ประเสริฐ และ สุวัฒน์ รัตนรณชาติ. (2527). การศึกษาสมรรถภาพการผสมพันธุ์ของสุกรพันธุ์แท้. I. อิทธิพลของฤดูกาลผสมพันธุ์, ลำดับครอกต่อสมรรถภาพในการสืบพันธุ์ของสุกรพันธุ์แท้. ประมวลเรื่องการประชุมทางวิชาการปศุสัตว์ ครั้งที่ 3. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุวัฒน์ รัตนรณชาติ และปกรณ์ ภู่ประเสริฐ. (2529). พารามิเตอร์ทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในสุกรลาร์จไวท์. วารสารเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 2, เล่มที่ 2, กรกฎาคม 2529.
อำนาจ เกตุใหม่ จิรพรรณ นพวงศ์ฯ กัลยา บุญญานุวัตร์ และ ประภาส มหินชัย. (2537). แนวโน้มทาง
พันธุกรรมของลักษณะการให้ผลผลิตของแม่สุกรลาร์จไวท์. ประมวลเรื่องการประชุมวิชาการปศุสัตว์ ครั้งที่ 13. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
Becker, W.A. (1975). Manual of Quantitative Genetic. 3rd edition Program in Genetics. Washington State University. Pullman, Washington, USA.
Bryner, S.M., J.W. Mabry, J.K. Bertrand, L.L. Benyshek and L.A. Kriese. (1992). Estimation of direct and maternal heritability and genetic correlation for backfat and growth rate in swine using data from Centrally Tested Yorkshire Boars. J.Anim.Sci. 70: 1775.
Coffey, M.T. , B.G. Diggs, D.L. Handlin, D.A. Knabe, C.V. Maxwell, Jr. , P.R. Noland, T.J. Prince and G.L. Gromwell. (1994). Effects of dictary energy during gestation and lactation on reproductive performance of sows : A Cooperative Study. 72: 4.
Cole, D.J.A. and Foxcroft. (1982). Control of Pig Re production. Butterworth Scientific, Buston, Falconer, D.A. (1981). Introduction to Quantitative Genetic (2nd Ed.) Longman, London.
Harvey, W.R. (1975). Least Square Analysis of Data with Unequal Subclass Numbers. Publication ARS H-4 USDA Agriculture Research Service 157 p.
Irgang, R., J.A. Favero and B.W. Kennedy. (1994). Genetic parameters for litter Size of differrent parities in Duroc, Landrace and Large White sows. J.Anim. Sci. 72: 2237.
Jancic, S. (1974). Coefficient of repeatability of litter size and weight in White pig breeds. Anim.Breed. Abstr. 42: 443.
Lasley, J.F. (1972). Genetics of Livestock Improvement (p. 283) Prentice Hall. Inc. Englewood Cliffs, New Jersey.
McCarter, M.N., Jr., J.W. Mabry, J.K. Bertrand and L.L. Benyshek. (1987). Components of variance and covariance for reproductive traits in swine estimated from Yorkshine field data. J.Anim. Sci. 72:56.
Mckay, R.M. (1994). Preweaning growth of York-shire, Hamshire and Landrace pigs, J.Anim. Sci. 72:56.
Ollivier, L.R. Gueblez, A.J. Webb and H.A.M. van der Steen. (1990). Breeding goals for Nationally and Internationally Operating pig Breeding Organization. Proc, 4th World Congr. Genet.Appl. Livest. Prod. 15:383.
SAS. (1990). User's Guide:Statistics. SAS.Inst.Inc., Cary, NC.
Sorensen, D. (1991). Predicted Breeding Values for Litter Size with an Animal Model Used in the Danish Pig Breeding Program Report from the do Natl.Inst.Anim.Sci. Denmark. p.27.
Stang, G.S. and J.W.B. King. (1970). Litter productivity in LargeWhite pigs. Anim.Prod. 12:235.