ถ้าจะมองงานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ของประเทศไทยในภาพกว้าง ๆ จะเห็นได้ว่างานวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตสัตว์จะมีความก้าวหน้ากว่าสาขาพืชค่อนข้างมาก ในขณะที่การผลิตพืชยังไม่มีเทคนิคระดับอุตสาหกรรมในการควบคุมความสม่ำเสมอของผลผลิต และยังถูกควบคุมด้วยอิทธิพลสภาพอากาศค่อนข้างมาก การผลิตสัตว์ของประเทศไทยกลับสามารถพัฒนาเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรมส่งออกและเป็นธุรกิจข้ามชาติไปแล้ว เช่น กรณีของสัตว์น้ำ และไก่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ประเทศไทยก็ยังต้องการงานวิจัยสาขาสัตวศาสตร์อีกมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ใหญ่ประเภท วัว ควาย และสัตว์สายพันธุ์พื้นเมือง บางชนิด เป็นต้นการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษาและภาคเอกชน จะส่งผลให้การพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจของประเทศก้าวไกลได้อีกมาก

การลดปัญหาการตกค้างของสารเสริมต่างๆ ที่ใช้ในการเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ ตลอดจนสารเคมีป้องกันกำจัดโรคต่างๆ นับว่าเป็นหัวข้อวิจัยที่ได้มีการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอในหลายหน่วยงานถึงแม้ว่าในระยะที่ผ่านมาจะมีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานดังกล่าวค่อนข้างน้อยก็ตาม

วารสารเกษตร มีความภูมิใจที่ได้มีโอกาสตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยสาขาสัตวศาสตร์ อย่างสม่ำเสมอตลอดมาและในฉบับที่ 1 ปีที่ 12 นี้ก็ได้มีการรวบรวมผลงานวิจัยสาขาการผลิตสัตว์จากหน่วยงานต่างๆ ออกเผยแพร่ ไว้ถึง 8 หัวข้อจึงหวังว่าจะเป็นฉบับที่ถูกนำไปใช้อ้างอิงมากเป็นพิเศษในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการผลิตสัตว์ของประเทศ และของนานาชาติ

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-22

สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และสหสัมพันธ์ปรากฏของสมรรถภาพการผลิตของแม่สุกร

พัชรินทร์ สนธิ์ไพโรจน์, อำนวย เลี้ยวธารากุล, ปกรณ์ ภู่ประเสริฐ

24-33

การใช้เยื่อใยระดับสูงในอาหารสัตว์ปีก 1. ไก่ไข่รุ่น

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์, บรรจง วงศ์เรือง, นรินทร์ ยาเทพ

74-82