สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรม และสหสัมพันธ์ปรากฏของสมรรถภาพการผลิตของแม่สุกร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ปรากฏของแม่สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ แลนด์เรซ และดูร็อค ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ จากข้อมูลจำนวน 1,569 ครอก วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูลจำแนกตามสายพันธุ์ ลำดับครอกที่คลอด ฤดูที่คลอด และปีที่คลอด โดยปรับค่าของสภาพแวดล้อมก่อนที่จะวิเคราะห์ข้อมูล สมรรถภาพการผลิตของแม่สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์และแลนด์เรซ เกือบทุกลักษณะที่ศึกษาไม่แตกต่างกัน ทางสถิติ (P>0.05) มีเพียงลักษณะน้ำหนักต่อครอกแรกคลอดของสุกรพันธุ์แลนด์เรซ ที่สูงกว่าสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) สมรรถภาพการผลิตในทุกลักษณะที่ศึกษาของแม่สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ จะสูงกว่าแม่สุกรพันธุ์ดูร้อคอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P<0.01) ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างจำนวนลูกคลอดมีชีวิตกับจำนวนลูกต่อครอกที่อายุ 3 4 5 และ 8 สัปดาห์; น้ำหนักต่อครอกแรกคลอดกับน้ำหนักต่อครอกที่อายุ 3, 4, 5 และ 8 สัปดาห์มีค่าเท่ากับ 0.15 0.16 0.02 และ 0.17 0.38 0.39 0.28 และ 0.38 ตามลำดับ ค่าสหสัมพันธ์ปรากฏระหว่างจำนวนลูกคลอดมีชีวิตกับจำนวนลูกต่อครอกที่อายุ 3 4 5 และ 8 สัปดาห์ น้ำหนักต่อครอกแรกคลอดกับน้ำหนักต่อครอกที่อายุ 3 4 5 และ 8 สัปดาห์ มีค่าเท่ากับ 0.87 0.86 0.86 และ 0.85 0.66 0.64 0.61 และ 0.63 ตามลำดับ
Article Details
References
ปกรณ์ ภู่ประเสริฐ นิพนธ์ วิทยากร และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2539. สมรรถภาพการผลิตของสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ และแลนด์เรซที่นำเข้าจากประเทศนอร์เวย์. การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ครั้งที่ 34. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. น. 27-31.
ประชุม อินทรโชติ สุภาวัลย์ บรรเลงทอง กัลยา บุญญานุวัตร และ ประภาส มหินชัย. 2537. แนวโน้มทางพันธุกรรมของลักษณะการให้ผลผลิตของแม่สุกรคูร๊อค. ประมวลเรื่องการประชุม วิชาการปศุสัตว์. ครั้ง ที่ 13. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ น. 201-212.
ประภาส มหินชัย จิรพรรณ นพวงศ์ฯ และ นิยดา สมมะลวน. 2539. การสร้างสุกรพันธุ์ดูร็อคกรมปศุสัตว์. I. สมรรถภาพการผลิตและการสืบพันธุ์ของแม่สุกรพันธุ์ดูรอคที่นำเข้าจากประเทศแคนาดา. ประมวล เรื่องการประชุมวิชาการปศุสัตว์. ครั้งที่ 15. กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. น. 109-123.
ไพจิตร อินตรา ประภาส มหินชัย และศรชัย คงสุข. 2538. สมรรถภาพการผลิตของแม่สุกรพันธุ์แท้ที่นำเข้ามา จากประเทศแคนาดา. ประมวลเรื่องการประชุมวิชาการปศุสัตว์. ครั้งที่ 14. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. น. 129-139.
สมชัย จันทร์สว่าง. 2530. การปรับปรุงพันธุ์สัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 505 น.
สมชัย จันทร์สว่าง สุทัศน์ ศิริ และ สุพัตร์ ฟ้ารุ่งสาง. 2524. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการให้ผลผลิตของแม่สุกรและลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจ. รายงานผลงานวิจัยประจำปี. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ นครปฐม.
สุวิทย์ อโนทัยสินทวี คมจักร พิชัยรณรงค์สงคราม และ สัมฤทธิ์ แสนบัว. 2537. สมรรถภาพการผลิตแม่สุกรพันธุ์แท้ของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. รายงานผลงานวิจัยงานค้นคว้าและวิจัยการ ผลิตสัตว์ประจำปี. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. น. 174-181.
สุวัฒน์ รัตนรณชาติ และปกรณ์ ภู่ประเสริฐ. 2529. พารามิเตอร์ทางพันธุกรรมสำหรับลักษณะความสมบูรณ์ พันธุ์ในสุกรลาร์จไวท์. วารสารเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2(2): 132.
อำนาจ เกตุใหม่ กัลยา บุญญานุวัตร และ ไพจิตร อินตรา. 2537 ก. การผสมพันธุ์ และคัดเลือกสุกรพันธุ์ลาร์จไวท์ กรมปศุสัตว์. 1. คุณค่าการผสมพันธุ์ ลักษณะการให้ผลผลิตของแม่สุกรลาร์จไวท์. รายงาน ผลงานวิจัยงานค้นคว้าและวิจัยการผลิตสัตว์ประจำปี. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. น. 393-409.
อำนาจ เกตุใหม่ กัลยา บุญญานุวัตร และไพจิตร อินตรา. 2537 ข. คุณค่าการผสมพันธุ์ลักษณะการให้ผล ผลิตของแม่สุกรดูร๊อคเจอร์ซี่กรมปศุสัตว์. 1. คุณค่าการผสมพันธุ์ลักษณะการให้ผลผลิตของแม่สุกร ดูร๊อคเจอร์ซี่. รายงานผลงานวิจัยงานค้นคว้าและวิจัยการผลิตสัตว์ประจำปี. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กรุงเทพฯ. น. 410-426.
อำนาจ เกตุใหม่ จีรพรรณ นพวงศ์ฯ กัลยา บุญญานุวัตร และ ประภาส มหินชัย. 2537 ค. แนวโน้มทางพันธุกรรมของลักษณะการให้ผลผลิตของแม่สุกรลาร์จไวท์. ประมวลเรื่องการประชุมวิชาการปศุสัตว์. ครั้งที่ 13. กรมปศุสัตว์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. น. 213-224.
Becker, W.A. 1975. Manual of Quantitative Genetic. 3rd edition. Program in Genetics. Washington State University. Pullman, Washington, USA.
Freeman, A.E. 1979. Components of Variance: Their History, Use and Problems in Animal Breeding. Proc. of a Conf. in Honor of C.R. Henderson. Cornell University. Ithaca, New York. 43.
Harvey, W.R. 1975. Least Square Analysis of Data with Unequal Subclass Numbers. Publication ARS H-4 USDA Agriculture Research Service. 157 p.
Irgang, R., J.A. Favero and B.W. Kennedy. 1994. Genetic parameters for litter size of different parities in Duroc, Landrace and Large White Sows. J.Anim.Sci. 72: 2237.
Rattanaronchart, S. 1982. Genetic and Genetic-Feeding Regimen Interaction Effects on Lactation. Growth and Carcass Traits in Dairy Cattle. Ph.D. Thesis. University of Illinois, Urbana.
SAS. 1990. SAS User's Guide : Statistics. SAS.Inst.Inc.,Cary, NC.
Searle, S.R. 1961. Phenotypic, genetic and environmental correlations. Biometrics. 17: 474.
Van der Steen, H.A.M. 1985. Maternal influence medicated by litter size during the suckling period on reproduction traits in pigs. Livest.Prod.Sci. 13: 147-158.
Young, L.D., R.A. Pumfrey P.J. Cunningham and D.R. Zimmerman. 1978. Heritabilities and genetic and phenotypic corrclations for prebreeding traits, reproductive traits and principle components. J.Anim. Sci. 46: 937-949.
Young, L.D. 1992. Effect of Duroc, Meishan, Fengjing and Minzhu Boars on productivity of mates and growth of first-cross progeny. J.Anim.Sci. 70: 2020.