การผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ไก่เนื้อพื้นเมือง สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์มหาสารคาม II. สมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์

Main Article Content

อำนวย เลี้ยวธารากุล
พัชรินทร์ สนธิไพโรจน์
ศิริพันธ์ โมราถบ

บทคัดย่อ

ข้อมูลลูกไก่พื้นเมือง จำนวน 3,212 ตัว ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ 4 ชั่วอายุ โดยแต่ละชั่วใช้พ่อพันธุ์ 40 ตัว แม่พันธุ์ 200 ตัว พบว่า ไก่พื้นเมืองที่อายุตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป เพศผู้จะมีน้ำหนักตัว อัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีกว่าเพศเมีย (P<0.01) และไก่พื้นเมืองคละเพศ มีอัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีที่สุดในช่วงอายุ 0-16 สัปดาห์ ไก่ที่เกิดในฤดูหนาว และฤดูฝน จะมีน้ำหนักตัว อัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร ที่อายุ 8 สัปดาห์ขึ้นไปดีกว่าไก่ที่เกิดในฤดูร้อน (P<0.01)


ต้นทุนการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จะแบ่งเป็น ต้นทุนผันแปรประมาณ 98.5% และต้นทุนคงที่ประมาณ 1.5% การเลี้ยงและการจำหน่ายที่อายุ 16 สัปดาห์ จะให้กำไรสูงสุด รองลงมาได้แก่ ที่อายุ 20 24 และ 12 สัปดาห์ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. 2539. กลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 90 น.
กาญจนา บันสิทธิ์ ธีระพล ประสิทธิ์ อภิชัย ศิวประภากร สมพงษ์ ฉายพุทธ พรรณศรี สาติยะ และ วิโรช ศิริขจรพันธุ์. 2531. การศึกษาหาระดับความต้องการโปรตีน และพลังงานสำหรับไก่พื้นเมืองในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมสัมมนาทางวิชาการเกษตร: ไก่พื้นเมือง. ครั้งที่ 2. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น. น. 73-75.
เกรียงไกร โชประการ. 2531. การศึกษาหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไก่พื้นเมือง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น.
วิโรจน์ ชลวิริยะกุล หรรษา ฐิติโภคา สุมาลี ไหลรุ่งเรือง และ เชษฐพงศ์ นนทนันธ์. 2531. การผลิตไก่พื้นเมือง ในระบบการทำฟาร์มเขตเกษตรน้ำฝน. การประชุมสัมมนาทางวิชาการเกษตร. ไก่พื้นเมือง. ครั้งที่ 2. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น.
ศิริพันธ์ โมราถบ และ สมบูรณ์ เด่นวานิช. 2539. อุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อและเนื้อไก่. การพัฒนาปศุสัตว์ไทยจากกึ่งพุทธกาลถึงยุคโลกาภิวัตน์. สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ. น. 267-297.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2539. สถิติการเกษตร. ข่าวเศรษฐกิจการเกษตร. 42 (471). น. 44-45.
สุภาพร อิสริโยดม นิรัตน์ กองรัตนานันท์ และ รัตนา โชติสังการ. 2536. การเจริญเติบโตและส่วนประกอบซาก ของไก่พื้นเมือง เปรียบเทียบกับของไก่พันธุ์แท้บางพันธุ์. การประชุมทางวิชาการ ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ครั้งที่ 31. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. น. 172-183.
สุวิทย์ ธีรพันธุวัฒน์ พิทักษ์ ศรีประย่า และ สมพงษ์ ฉายพุทธ์. 2531. อิทธิพลของอาหารที่มีต่อส่วนประกอบของซากไก่พื้นเมือง. การประชุมสัมมนาทางวิชาการเกษตร: ไก่พื้นเมือง. ครั้งที่ 2. ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น.
เสาวคนธ์ โรจนสถิตย์ สถิตย์ มั่งมีชัย สวัสดิ์ จาตุบางกุล และ ปรัชญา ปรัชญลักษณ์. 2526. ผลการเลี้ยงไก่กระทงพื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมและข้าวเปลือกบด. รายงานการประชุมสัมมนาการเกษตรภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. ไก่พื้นเมือง. ครั้งที่ 1. ณ สำนักงานเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น. น. 24-29.
อำนวย เลี้ยวธารากุล ศิริพันธ์ โมราถบ และสวัสดิ์ ธรรมบุตร. 2534. การทดสอบสมรรถภาพการผลิตในสภาพ การเลี้ยงในหมู่บ้านของไก่เนื้อพื้นเมืองที่ผ่านการผสม และคัดเลือกพันธุ์จากสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ มหาสารคาม. ประมวลเรื่องการประชุมทางวิชาการด้านปศุสัตว์ ครั้งที่ 10. กรมปศุสัตว์ กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. น. 247-256.
อุดมศรี อินทรโชติ และ จำรัส ภักดี. 2527. ข้อมูลเบื้องต้นของไก่พันธุ์ต่างๆที่เลี้ยงอยู่ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ทับ กวาง. รายงานการศึกษาและทดลองของสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ ทับกวาง ประจำปี 2527. น. 76-78.
Aho, P.W. and M.B. Timmons. 1985. Stimulation of heavy broiler production in areas of high or moderate summer temperature. Poult.Sci. 64: 1623-1627.
Bacon, W.L., K.E. Nestor and P.A. Renner. 1986. The Influence of Genetic Increases in Body Weight and Shank Width on the Abdominal Fat Pad and Carcass Composition of Turkeys. Poultry Sci. 65: 391-397.
Harvey, W.R. 1975. Least Square Analysis of Data with Unequal Subclass Number. Publication ARS H-4 USDA Agriculture Research Service. 157 p.
Havenstein, G.B., K.E. Nestor, V.D. Toelle and W.L.Bacon. 1988 a Estimates of genetic parameters in Turkeys. I. Body weight and skeletal characteristics. Poultry Sci. 67: 1378-1387.
Havenstein, G.B., V.D. Toelle, K.E. Nestor and W.L. Bacon. 1988 b. Estimates of genetic parametors in Turkeys. 2. Body weight and carcass characteristics. Poult.Sci. 67: 1388-1399.
Leenstra, F.R., P.F.G. Vereijken and R. Pit. 1986. Fat deposition in a broiler sire strain. I. Phenotypic and genetic variation in, and correlations between, abdominal fat, body weight and feed conversion. Poultry Sci. 65: 1225-1235.
Leenstra, F.R. and R. Pit. 1987. Fat Deposition in a Broiler Sire Starin. 2. Comparisons among lines selected for less abdominal fat, lower feed conversion ration and higher body weight after restricted and Ad Libitum feeding. Poultry Sci. 66: 193-202.
North, M.O. 1984. Commercial Chicken Production Manual. 3 rd edit. AVI Publishing Company, Inc. Westport, Connecticut. 710 p.
Olson, D.W., M.L. Sunde and H.R. Brid. 1972. The effect of temperature on metabolizable energy and utilization by the growing chick. Poult.Sci. 51: 1951-1960.
Sainsbury, D. 1980. Poultry Health and Management. Granada Publishing. New York, NY. 167 p.
SAS. 1990. SAS User's Guide. Statistics. SAS. Inst.Inc., Cary, NC.
Spratt, R.S. and S. Leeson. 1987. Effect of protein and energy intake of broiler breeder hens on performance of broiler chicken offspring. Poult.Sci. 66: 1489-1494.
Summers, J.D. and S. Leeson. 1983. Poultry nutrition handbook. University of Guelph. Ontario, Canada. 133 p.