ความสำคัญของน้ำหนักแม่ที่มีต่อสมรรถนะก่อนหย่านมของลูกโคขาวลำพูน

Main Article Content

สุวัฒน์ รัตนรณชาติ

บทคัดย่อ

ข้อมูลน้ำหนักแรกเกิด (18.3±2.2 กก.) จำนวน 173 บันทึกน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อวันก่อนหย่านม (0.251±0.070 กก./วัน) และน้ำหนักหย่านมที่ 205 วัน (69.7±13.7 กก.) อย่างละจำนวน 168 ค่าประมาณ ของลูกโคขาวลำพูน ถูกใช้ในการวิจัยครั้งนี้


น้ำหนักแม่เมื่อคลอด มีอิทธิพลต่อน้ำหนักแรกเกิด น้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อวันก่อนหย่านม และน้ำหนักหย่านมอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง (P <.01) ลูกจากแม่ที่มีน้ำหนักคลอดมากจะโตเร็วกว่า และมีน้ำหนักแม่ในระหว่างเลี้ยงลูกมีผลต่อน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อวันก่อนหย่านม และน้ำหนักหย่านมอย่างมีนัยสำคัญ (P <.05) ลูกจากแม่ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มจะโตเร็ว และมีน้ำหนักหย่านมมากกว่าลูกจากแม่ที่มีน้ำหนักตัวลด อายุของแม่มีผลต่อลักษณะทั้งสามของลูกอย่างไม่มีนัยสำคัญ


เพศของลูกโคมีผลต่อน้ำหนักแรกเกิด (P> .01) แต่ไม่มีผลต่อน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อวันก่อนหย่านมและน้ำหนักเมื่อหย่านม (P <.95) น้ำหนักแรกเกิดมีผลต่อสองลักษณะที่เหลือไม่มากพอที่จะพบนัยสำคัญ


ผลจากการวิจัยครั้งนี้  แสดงให้เห็นว่าแม่โคขาวลำพูนที่ถูกเลี้ยงด้วยหญ้าธรรมชาติอันแสนจะจำกัด นั้น น่าจะให้ผลผลิตลูกที่ดีกว่า ถ้าสามารถทำน้ำหนักตัวตอนคลอด และทำน้ำหนักตัวเพิ่มในระหว่างเลี้ยงลูกได้มากเท่าที่จะมากได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สกล ไข่คำ. (2522). อิทธิพลของพันธุ์ อายุ เพศ และการตอนที่มีผลต่อซาก และส่วนประกอบของซากรวมทั้ง แนวทางการตลาดโคเนื้อในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวัฒน์ รัตนรณชาติ. (2533). ความสำคัญ และลักษณะของปฏิกริยาร่วมระหว่างปีกับฤดูเกิด ที่มีต่อลักษณะน้ำหนักลูกโคขาวลำพูน. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 3: 132.
สมบัติ ศรีจันทร์. (2530). อิทธิพลของพันธุ์โค อายุโค และชนิดอาหารหยาบในการเลี้ยงโคขุน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Creek, M. J. and B. L. Nestel. (1964). Animal Production studies in Jamaica, 3: The effect of dam age upon the 210 day weights of calves and response of male and female calves to different environments. J. Agric. Sci. 62: 165.
Neville, W. E. Jr. (1970). Influence of dam's milk production and other factors on 120 and 240 day weight of Hereford calves. J. Anim. Sci. 21: 315
Preston, T. R. and M. B. Willis. (1970) Intensive Beef Production. Pergamon Press. Page 234-236
Smith, G. M. and H. A. Fitzhugh, Jr. (1968). Homogeniety of relationshiqes between dam and progeny weights. J. Anim. Sci. 27: 1129 (Abstr).
Singh, A. R, R. R. Schalls, W. H. Smith and F. B.Kessler. (1970). Cow weight and preweaning performance of calves J. Anim. Sci. 31: 27
Statistical Analysis System. (1985) SAS/STAT Guide for Personal Computers. SAS Institute Inc., Cary, N.C. U.S.A Version 6 Edition, Page 183-260.
Walker, C. A. (1964). The growth and development of the beef qualities of Angoni cattle (East African Shorthom Zebu), 1: Live weight. J. Agric. Sci 63: 135