ปัจจุบันงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาวิชาการสาขาเกษตรศาสตร์ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการผลิตพืช หรือการผลิตสัตว์ การประยุกต์ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านพันธุวิศวกรรม ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการสาขาเกษตรอย่างมากมาย ทั้งการวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกต์ การพัฒนาสายพันธุ์พืชที่ทนโรค แมลงทนแล้ง การขยายพันธุ์พืชการเก็บรักษาเชื้อพันธุ์พืช/สัตว์  ล้วนเป็นตัวอย่างที่พบเห็นได้เสมอๆในวารสารวิชาการ

เทคโนโลยีทางด้านเอนไซม์ สามารถช่วยให้การตรวจสอบความแตกต่างของสายพันธุ์พืช/สัตว์มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีความแม่นยำ และใช้เวลาน้อยลง เทคนิคนี้ได้มีการนำเสนอเป็นแนวทางเบื้องต้นในวารสารเกษตร ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 นี้ด้วย และเป็นที่คาดหวังว่างานวิจัยลักษณะนี้จะทวีจำนวนมากขึ้น ในหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย

งานวิจัยในสาขาจุลินทรียวิทยา ซึ่งเป็นส่วนวิจัยที่จะมีประโยชน์อย่างมากต่อมนุษยชาติอย่างแน่นอนไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ทำอาหาร (เช่น แหนม) ยา สีธรรมชาติ และใช้ประโยชน์ในการเกษตร เช่น การตรึงไนโตรเจน  การผลิตปุ๋ยชีวภาพ หรือการควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ เป็นต้น ก็มีการพัฒนาไปอย่างมากเช่นกัน ซึ่งเทคนิคทางจุลินทรีย์เพื่อการเกษตรนี้ จุดที่ควรจะมุ่งเน้นด้วยน่าจะเป็นการคัดเลือกจุลินทรีย์ในธรรมชาติเพื่อใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งจากการเกษตรและอุตสาหกรรม

ถึงแม้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรจะก้าวหน้าไปมากเพียงใดก็ตามการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับฟาร์ม ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานอีกมากที่ทำให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีอาจไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น ข้อจำกัด พื้นฐานของตัวงตัวเกษตรกร ทั้งทางด้านสถานะทางการเงิน ความรู้ และวัฒนธรรม เป็นต้น  งานวิจัยในส่วนนี้จึงยังมีความสำคัญ และควรที่นักวิจัยวิทยาศาสตร์เกษตรทุกท่านจะได้ศึกษาไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับข้อจำกัดเหล่านั้น  ในวารสารเกษตรฉบับที่ 2 ปีที่ 10 ที่ท่านถืออยู่นี้ ได้บรรจุผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรไว้ถึง 2 เรื่อง ซึ่งเชื่อแน่ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการและผู้สนใจโดยทั่วไปอย่างแน่นอน

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-28

การใช้กากเรปซีดเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ปีก 1. ไก่ไข่

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ , บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

136-147

การใช้ฟางถั่วเหลืองเป็นอาหารหยาบเลี้ยงโคทดแทนฝูง

สมปอง สรวมศิริ, ปราโมช ศตะโกเศศ, พิสุทธิ์ เนียมทรัพย์, อนุชา ศิริ

148-157

ประสิทธิภาพของสาร Propaquizafop ในการกำจัดวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าในกระเทียม

พรชัย เหลืองอาภาพงศ์, ปริศนา พูนไชยศรี, สมสิทธิ์ ชำนาญศิลป์

189-196