ประสิทธิภาพของสาร Propaquizafop ในการกำจัดวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าในกระเทียม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทำการทดลอง 3 แปลงในเขตอำเภอสันป่าตอง และอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนธันวาคม 2537 - มีนาคม 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการศึกษา ประสิทธิภาพการใช้สาร Propaquizafop(2-isopropylidemeamino-oxyethyl(R)-2-[4-(6-chloro-quinoxalin-2yloxy)phenoxy] propionate) ในไร่กระเทียมโดยฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืช แบบหลังงอกภายหลังการปลูกกระเทียม 28-30 วัน ด้วยถังพ่นแบบสะพายหลังที่มีปริมาณน้ำ 20 ลิตร/ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใช้สาร Propaquizafop อัตรา 10-12 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมในการควบคุมวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้า พวกหญ้าตีนนก Digitaria adscendens (H.B.K. )Henr.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica (L.)Roem. & Shult.) และหญ้าข้าวนก Echinochloa crus-gali L.Beauv.) โดยที่การใช้ในอัตราไม่เกิน 12 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่นี้จะไม่ทำให้กระเทียมแสดงอาการเป็นพิษแต่อย่างใด การใช้สาร Propaquizafop เพื่อควบคุมวัชพืชใบแคบวงศ์หญ้าฤดูเดียวสามารถเพิ่มผลผลิตของกระเทียมได้สูงขึ้น 24 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงที่ไม่มีการกำจัดวัชพืช
Article Details
References
ทรงเชาว์ อินสมพันธ์ และ วีระชัย ศรีวัฒนพงศ์. (2528). ผลของวิธีการกำจัดวัชพืชต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลืองที่ปลูกปลายฝน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 16 หน้า.
ประดิษฐ์ วงษ์ยะลา, พรชัย เหลืองอาภาพงศ์, สมชาย เนาสราญ และอมรรัตน์ พันธุฟัก. (2536). การทดสอบประสิทธิภาพของสารกำจัดวัชพืช Agil 10 EC ในถั่วเหลือง รายงานการประชุมวิชาการอารักษาพืชแห่งชาติครั้งที่ 1. บทคัดย่อหน้า 28.
เสริมศิริ คงแสงดาวและ เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์. (2534). การควบคุมวัชพืชในผักตระกูลหอมกระเทียม. การประชุมวิชาการ กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. บทคัดย่อ หน้า 18.
เสริมศิริ คงแสงดาวและ เกลียวพันธ์ สุวรรณรักษ์. (2535). การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบหลังวัชพืชงอกในหอมหัวใหญ่. รายงานการประชุมวิทยาการวัชพืชแห่งชาติครั้งที่ 1/35 บทคัดย่อ. หน้า 19.