การบริโภคผลิตผลเกษตรในครัวเรือนเกษตรกร อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ประหยัด สายวิเชียร
วราภา คุณาพร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้  เพื่อวิเคราะห์สัดส่วนของการบริโภคผลผลิต ทางการเกษตรภายในครัวเรือนเกษตรกร และเพื่อศึกษาลักษณะการบริโภคในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเกษตรกรในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่  จำนวน 236 ราย หรือร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมดที่ได้รับคัดเลือกโดยวิธีสุ่ม แบบหลายขั้นตอน การรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสัมภาษณ์  โดยแบบสอบถามที่สร้างขึ้น  พบว่า ประชากรตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 44.8 ปี  ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีบุตร 2 คนขนาดครัวเรือน 3-4 คน  พื้นที่ที่อยู่อาศัยเฉลี่ย 0.76 ไร่ และพื้นที่เกษตรเฉลี่ย 8.36 ไร่  มีรายได้เฉลี่ย 12,492.00 บาท


ผลผลิตเกษตรหลัก ได้แก่ ข้าวเหนียวนาปี พืชอื่น ๆ ได้แก่ ข้าวจ้าว ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  ถั่วดำ  อ้อยยาสูบ  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  มะม่วง  ลำไย  ถั่วฝักยาว ขิงและพริก


สัดส่วนการบริโภคผลผลิตเกษตร ภายในครัวเรือนของข้าวเหนียว  ข้าวจ้าว  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  มะม่วง  ลำไย ถั่วฝักยาว ขิงและผักกาด  มีค่าเป็น 0.61±0.08, 0.13 ± 0.05, 0.004 ± 0.01, 0.001 ± 0.005, 0.07 ± 0.15, 0.01 ± 0.01, 0.006 ± 0.01, 0.01 ± 0.01 0.03 ± 0.01 and 0.074 ± 9 0.07ตามลำดับ


สำหรับพฤติกรรมการบริโภค พบว่าร้อยละ 97 ของประชากรที่ใช้ในการศึกษาบริโภคข้าวเหนียวทุกวันและร้อยละ 54.3 บริโภค 3 มื้อต่อวัน แหล่งอาหารโปรตีน ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อวัวและกระบือ โดยมีการบริโภคเนื้อหมูทุกมื้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิชัย หฤทัยธนาสันต์ “เหตุที่สินค้าเกษตรกรรมเสียเปรียบด้านการตลาด” วิทยาศาสตร์การอาหาร 13 (ธ ค. 2524) p.17-20.
เศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงาน, 2537, สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปีเพาะปลูก 2536 56.
สุมณฑา วัฒนสินธุ์ และคณะ (2532) การศึกษาการกระจายอาหารและพฤติกรรมการบริโภคของประชากร ภาคอิสานตอนบน สาขาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช