การใช้ฟางถั่วเหลืองเป็นอาหารหยาบเลี้ยงโคทดแทนฝูง

Main Article Content

สมปอง สรวมศิริ
ปราโมช ศตะโกเศศ
พิสุทธิ์ เนียมทรัพย์
อนุชา ศิริ

บทคัดย่อ

การศึกษาการใช้ฟางถั่วเหลืองเป็นแหล่งอาหารหยาบเลี้ยงโคทดแทนฝูง ใช้โคทดลองลูกผสม (โฮสไตน์ x พื้นเมือง) เพศเมียอายุเฉลี่ย 8-12 เดือน จำนวน 12 ตัวสุ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำ ตามแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design) กลุ่มทดลองได้รับอาหารดังนี้ คือ หญ้ารูซี่สด  ฟางถั่วเหลือง  และฟางถั่วเหลืองอบยูเรียเป็นแหล่งอาหารหยาบหลัก  โดยการเสริมอาหารข้นในอัตรา 2 ก.ก/ตัว/วัน จากการทดลองให้อาหารเป็นเวลา 240 วัน  ปรากฏว่า โคทดลองทุกกลุ่มมีค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโตต่อตัวต่อวัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) คือมีค่าเท่ากับ 458  477  456 กรัม/วัน และ 13.95 14.29 และ 13.81 สำหรับกลุ่มทดลองที่ได้รับหญ้าสด  ฟางถั่วเหลือง  และฟางถั่วเหลืองอบยูเรียเป็นแหล่งอาหารหยาบ  ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยปริมาณการกินอาหารในรูปวัตถุแห้งของโคกลุ่มที่กินหญ้ารูซี่สด และกลุ่มที่กินฟางถั่วเหลือง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่กลุ่มที่ได้รับฟางถั่วเหลืองอบยูเรียกินอาหารน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับฟางถั่วเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.39 6.82 และ 6.30 ก.ก/วัน ตามลำดับ ต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 ก. ก ของกลุ่มที่ได้รับฟางถั่วเหลืองอบยูเรียมีค่าสูงที่สุดคือ 32.62 บาท/กิโลกรัม  โดยโคทดลองทุกกลุ่มไม่มีความผิดปกติด้านสุขภาพจากการให้อาหารและสัมประสิทธิการย่อยได้ของวัตถุแห้งของอาหารทดลอง  ซึ่งประกอบด้วยอาหารหยาบและอาหารข้นมีค่าเป็น 78.21 83.57 และ 80.52% สำหรับกลุ่มทดลองที่ได้หญ้ารูซี่ฟางถั่วเหลืองและฟางถั่วเหลืองอบยูเรียตามลำดับ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จรัญ จันทลักขณา. 2523. สถิติวิธีวิเคราะห์และวางแผนงานวิจัย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด กรุงเทพฯ.
2. บุญล้อม ชีวอิสระกุล และเจริญ แสงดี. 2529. ความสามารถในการกินกา รย่อยได้และสมดุลย์ของไนโตเจน ในแกะที่ได้รับเปลือกฝักถั่วเหลือง. รายงานการประชุมวิชาการสาขาสัตว์. ครั้งที่ 24. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 47-53
3. บุญล้อม ชีวอิสระกุล และบุญเสริม ชีวอิสระกุล. 2525. วิธีวิเคราะห์และทดลองทางโภชนาศาสตร์สัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. พันทิพา พงษ์เพียจันทร์. 2533. หลักอาหารสัตว์ เล่ม 1 (โภชนะ). ชมรมนักสัตว์บาลเชียงใหม่. ภาควิชาสัตว บาล. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
5. เมธา วรรณพัฒน์ ฉลอง วชิราภากร ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ อดิศักดิ์ สังข์แก้ว ธนาภรณ์ ปลื้มชิงชัย เวชสิทธิ์ โทบุราณ. 2534. การเสริมกากเมล็ดฝ้ายสำหรับโคพื้นเมืองและกระบือที่ปล่อยแทะเล็มในช่วงฤดู ฝน. รายงานการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ครั้งที่ 29. หน้า 253-258.
6. สมปอง สรวมศิริ ปราโมช ศีตะโกเศศ วินัย โยธินศิริกุล และ อนุชา ศิริ. 2532. การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ฟางถั่วเหลืองอบยูเรียฟางข้าวอบยูเรีย และฟางถั่วเหลืองราดสารละลายยูเรียกากน้ำตาลเป็นอาหาร หยาบเลี้ยงโค. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. 6 (3): 191-201.
7. สมปอง สรวมศิริ ปราโมช ศีตะโกเศศ อนุชา ศิริ และ พิสุทธิ์ เนียมทรัพย์. 2535. การใช้ฟางถั่วเหลืองอบ ยูเรียเป็นอาหารโคขุนวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. 9(1): 1-10, 8. สมปอง สรวมศิริ ปราโมช ศีตะโกเศศ ไพโรจน์ ศิลมั่น และเดชา ดีบ้านโศก. 2536. การสำรวจข้อมูลสภาพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร. 9 (3): 87-94.
9. AOAC. 1975. Official Method of Analysis 12th Ed Association. of Official Agricultural Chemists. Washington D.C.
10. Belyea, R.L., B.J. Steevens, R.J. Restrepo and A.P. Clubb. 1989. Variation in composition of by product feeds. J. Dairy Sci. 72: 2339-2345.
11. Goering, H.K. and P.J. Van Soest. 1970. Forage Fiber Analysis. USDA. Agric. Handbook. No. 379 Washington, D.C.
12. Hus, J.T., D.B. Faulkner, K.A. Garleb, F.A.Barclay, G.C. Fahey, Jr., and L.L. Berger. 1987. Evaluation of corn fiber, cottonseed hulls, oat hulls and soybean hulls as roughage sources for rumi nants. J. Anim. Sci.65: 244-249
13. Saenger, P.E., R.P. Lemenager. and K.S. Hendrix. 1982. Dry matter intake of ammoniated crop residues. J.Anim.Sci. 55 Suppl. 115
14. Wanapat, M. 1985. Voluntary intake and digest ibility of traditional and machine threshed rice straw by swamp buffaloes. In “The Utilization of Fibrous Agriculture Residues as Animal Feeds” (Ed.P.T. Doyle). pp 71. IDP. Canberra.