ลักษณะทางพืชไร่ของพืชตระกูลถั่วกินเมล็ดบางชนิดที่ปลูกเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองได้กระทำที่สถานีวิจัย และศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางพืชไร่ รวมทั้งความเหมาะสมของพืชตระกูลถั่วบางชนิดต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับระบบการปลูกพืช โดยปลูกพืชตระกูลถั่วกินเมล็ดจำนวน 15 ชนิด ในช่วงต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน วันที่ 21 มิถุนายน และ 10 กันยายน 2533 ตามลำดับผลการทดลองพบว่า สามารถแบ่งถั่วได้เป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะของการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันคือ กลุ่มแรกมีการเจริญเติบโตแบบทอดยอดซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วตอบสนองต่อวันสั้น ถั่วกลุ่มนี้ ได้แก่ ถั่วดำ(พื้นเมือง), ถั่วเล็บมือนาง (เมล็ดแดงและเขียว) ถั่วแปยี (เมล็ดแดงและขาว) ถั่วมะแฮะ(99W และพื้นเมือง) ถั่วพร้า และถั่วเขียวผิวดำ(อู่ทอง 2) กลุ่มที่สอง มีการเจริญเติบโตแบบไม่ทอดยอด และไม่ตอบสนองต่อวันสั้นได้แก่ ถั่วดำ (KK.306), ถั่วพุ่ม (เมล็ดแดง, น้ำตาล. IT-82D และตะเภา) และถั่วเขียวผิวมัน (กำแพงแสน 1) ส่วนสีของดอกรวมทั้งลักษณะและสีของเมล็ดต่างก็มีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามชนิดของถั่ว การปลูกล่าช้าออกไปจนถึงปลายฤดูฝนมีแนวโน้มว่าการสุกแก่เร็วขึ้นแล้วยังมีผลทำให้ผลผลิต รวมทั้งการเจริญเติบโตทั้งในแง่ของดัชนีพื้นที่ใบ และการสะสมน้ำหนักแห้งมีค่าลดลงขึ้นกับชนิดของถั่ว นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ร่วมระหว่างฤดูปลูก และชนิดของถั่วอีกด้วย อนึ่งในแง่ของน้ำหนักแห้งทราก และดัชนีการเก็บเกี่ยวต่างก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกับกรณีของผลผลิตและการเจริญเติบโต แต่ถั่วที่มีแนวโน้มว่าเหมาะสมต่อการปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่ ถั่วดำ (พื้นเมือง),ถั่วเล็บมือนาง, ถั่วแปยี (เมล็ดแดง, ขาว) โดยปลูกในช่วงต้นฤดูฝนซึ่งให้น้ำหนักแห้งทรากค่อนข้างสูง และมีดัชนีการเก็บเกี่ยวค่อนข้างต่ำ
Article Details
References
อภิพรรณ พุกภักดี. 2536. ถั่วเขียว:องค์ประกอบที่สำคัญของเกษตรยืนยงในระบบการปลูกพืช. ในรายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการงานวิจัยถั่วเขียวครั้งที่ 5 วันที่ 24-29 พฤษภาคม 2536 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ แม่โขงรอยัล หนองคาย หน้า 100-115.
Donald, C.M (1962) .In search of yield.J.Aust.Inst. Agri.Sci.24: 171-178.
Myers, R.J and T.M.Wood (1986) .Food Legumes in the Nitrogen Cycle of Farming Systems in Tropics and Subtropics.In:ACIAR Proc.No.18.Food Legume Improvement for Asian Farming Systems. Wallis E.S and Byth, C.E. (eds.). Ramsay Ware Printing, Melburne 46-52.
Summerfield, R J (1980). Effect of photoperoid and air temperature on growth and yield of economic legumes. In: Advances in Legumes Science Summerfield, R.J.and Burting A.H(eds) .Royal Botanic Gardens, Kew.
Vergaras, S.S and Visperas, R.M. (1977) .Harvest index:Criterion for selecting rice plants with high yielding ability.IRRI Saturday Siminar, September 10, 1977.
Wood, I.M and R.J.K.Myers (1986). Food legumes in Farming Systems in Tropic and Subtropics. In: ACIAR Proc.No.18.Food Legume Improvment for Asian Farming Systems. Wallis,E.S and Byth, D.E. (eds.). Ramsay Ware Printing, Melbourne: 34-45.