การใช้สารโปรไบโอติคเสริมในอาหารสุกรรุ่น-ขุน

Main Article Content

วันดี เจี่ยเจริญ
ขวัญชาติ อุดมศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการใช้สารโปรไบโอติค (โตโยเซอริน) ซึ่งประกอบด้วยบาซิลลัส โตโยอิ 1 x 109 สปอร์/กรัม  ในอาหารสุกรรุ่น-ขุน  โดยใช้สุกรลูกผสม 2 สายเลือด (ลาร์จไวท์ x แลนด์เรซ) จำนวน 40 ตัว (เพศผู้ 20 ตัว  เพศเมีย 20 ตัว) ทดลองในระยะสุกรรุ่นอายุ 9-16 สัปดาห์  ระยะสุกรขุน 16-21 สัปดาห์  แบ่งสุกรออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 8 ตัว  ประกอบด้วยเพศผู้ 4 ตัว เพศเมีย 4 ตัว โดยการสุ่มให้สุกรแต่ละกลุ่มได้อาหารทดลองสูตรต่าง ๆ ดังนี้:


ระยะสุกรรุ่น : ประกอบด้วยอาหารทดลอง 5 สูตร  คือ อาหารที่มีระดับโปรตีน 16, 14% และ 14% เสริมด้วยโปรไบโอติค 0.05, 0.1 และ 0.2% อาหารทุกสูตรทำการปรับระดับของกรดอะมิโนจำเป็นใกล้เคียงกันผลการทดลองปรากฏว่า อัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกรที่ได้รับอาหารทั้ง 5 สูตรเท่ากับ 0.659, 0.657, 0.650, 646 และ 0.618 กก./วัน ตามลำดับ และ 2.92, 2,94, 2,93, 2.67 และ 3.08 ตามลำดับ  โดยที่กลุ่มที่ได้รับอาหารที่เสริมโปรไบโอติค 0.1% มีแนวโน้มของประสิทธิภาพการใช้อาหารดีกว่ากลุ่มอื่น แต่ความแตกต่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  สำหรับการเสริมในระดับ 0.1% ไม่มีผลต่อต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนัก 1 กก. แต่อย่างใด  แต่ถ้าเสริมในระดับ 0.05 และ 0.2% ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น.


ระยะสุกรขุน : ประกอบอาหารทดลอง 5 สูตร  คือ อาหารที่มีระดับโปรตีน 14% ไลซีน 0.70% และอาหารที่มีโปรตีน 12% ไลซีน 0.56% และอาหารโปรตีน 12% ไลซีน 0.56% เสริมด้วยโปรไบโอติค 0.03, 0.05 และ 0.1 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ  จากผลการทดลองปรากฏว่า อัตราการเจริญเติบโตของสุกรที่ได้รับอาหารทั้ง 5 สูตร  เท่ากับ 0.8000, 0.774 0.742, 0.765 และ 0.718 กก./วันลำดับ  และประสิทธิภาพการใช้อาหารเท่ากับ 3.19, 3.23, 3.14 3.15 และ 3.28 ตามลำดับ  ซึ่งความแตกต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  สำหรับต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักนั้น  สุกรที่ได้รับอาหาร 12% โปรตีนเสริมด้วยโปรไบโอติค 0.03% มีต้นทุนต่ำสุดในการทดลองนี้.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ค้าเจริญ, เยาวมาลย์ และ ค้าเจริญ, สาโรช. (2535). ผลของโตโยเซอรินในการเร่งการเจริญเติบโตในสุกร. รายงานการวิจัยเสนอต่อ บริษัท ชนะพันธ์อุตสาหกรรม จำกัด.
พารักษา, นวลจันทร์. (253). สาระน่ารู้เกี่ยวกับโปรไบโอติค. สุกรสาส์น 16(53): 6 13.
นิรนาม. (2535). โตโยเซอรินเพาเดอร์. บริษัท ชนะพันธ์อุตสากรรม จำกัด. กรุงเทพฯ.
Hale, O.M. and Newton, G.L (1979). Effects of a non-viable Lactobacillus species fermentation product on performance of pigs. J. Anim. Sci. 48: 770-775.
Mitchell, L. de G. and Kenworthy, R. (1976). Investigations on a metabolite from Lactobacillus bulgarieus which neutralized the effect of enterotoxin from Escherichia coli pathogenic for pig. J. Appl. Bacteriol. 41: 163-174.
SAS. (1985). SAS / STATM Giude for Personal Computers, Version 6 Edition. Cary, NC: 111 pp.