การใช้กากไลซีนเพิ่มโปรตีนของมันสำปะหลังในอาหารโค

Main Article Content

เทอดชัย เวียรศิลป์
องอาจ อินทร์สังข์

บทคัดย่อ

ผลการวิเคราะห์ทางเคมีกากไลซีน ปรากฏว่าประกอบด้วยวัตถุแห้ง  โปรตีนรวม  โปรตีนที่แท้จริงไขมัน เยื่อใย เถ้า เกลือ  และพลังงานรวม 93.34, 94.06, 14.76, 7.88, 1.35, 8.70, 0.60 เปอร์เซนต์  และ 2,542 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม (วัตถุแห้ง) ตามลำดับ  ใช้มันสำปะหลังเส้นบดผสมกากไลซีนที่ระดับโปรตีน 8.0, 9.5, 11,0 และ 12.5 เปอร์เซนต์  เป็นอาหารข้นทดลองเลี้ยงโคขาวลำพูนจำนวน 16 ตัว  ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่มปรากฏว่าโคกลุ่มที่ได้รับอาหารข้นที่ใช้มันสำปะหลังเส้นบดผสมกากไลซีนที่ระดับโปรตีน 9.5 เปอร์เซนต์  มีแนวโน้มปริมาณการกินอาหารได้สูงสุด  จึงได้ใช้มันสำปะหลังเส้นบดผสมกากไลซีนที่ระดับโปรตีน 9.5 เปอร์เซนต์ ทดแทนข้าวโพดบดในระดับ 0, 50, 75 และ 100 เปอร์เซนต์  ผลปรากฏว่า มีอัตราการเจริญเติบโต 556, 16, 813.34, 773,11 และ 750.74 กรัม/ตัว/วันตามลำดับ (P <0.05) และพบว่า ต้นทุนการผลิตต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น  หรือต้นทุนการผลิตด้านอาหารสัตว์จะลดลงตามอัตราส่วนของการใช้มันสำปะหลังเส้นบดผสมกากไลซีนที่เพิ่มขึ้น  โคทดลองทุกกลุ่มมีลักษณะของซากและคุณภาพซากที่ใกล้เคียงกัน.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเกษตรเคมี (2534). รายงานผลการวิเคราะห์ตัวอย่างปุ๋ย. กรมวิชาการเกษตร. กรุงเทพฯ. 236 น.
คันธพนิต, ชัยณรงค์. (2529). วิทยาศาสตร์เลี้ยงสัตว์. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด . กรุงเทพฯ. 276 น. เวียรศิลป์, เทอดชัย. (2530). ปริมาณและอัตราการย่อยได้ของแป้งข้าวโพดในวัวนมที่เลี้ยงด้วยเมล็ดข้าวโพดในส่วนต่างๆ ของทางเดินอาหารของวัวนม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 3(1): 1-18.
เวียรศิลป์, เทอดชัย. (2535). แป้งในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง. ธุรกิจอาหารสัตว์ 9(32): 77-93.
เวียรศิลป์, เทอดชัย. และ มหาวิจิตร, วิเชียร. (2535). การเพิ่มโปรตีนของมันสำปะหลังโดยใช้น้ำกากผงชูรสเพื่อใช้เป็นอาหารโค. วารสารเกษตร. 8(2): 160-176.
รุจนะไกรกานต์, ลักขณา. และรัตนาปนนท์, นิธิยา. (2535). หลักการวิเคราะห์อาหาร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีการอาหาร. คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 70 น.
สถาปนศิริ, เกรียงศักดิ์., เวียรศิลป์, เทอดชัย. และวัชรพุกก์, ชาญวิทย์. (2533). การย่อยได้ของแป้งจากมันสำปะหลังเส้นข้าวเปลือกเจ้าบด และปลายข้าวเจ้าในแต่ละส่วนของทางเดินอาหารของวัวนม. วารสารเกษตร 6(4): 265-280.
Ajinomoto Co. (Thailand). (1991). Analytical Report. Bangkok. Thailand. 1 p.
AO.AC. (1980). Official Method of Analysis. 13 ed., Association of official agricultural chemists. Washington. D.C. 1018 p.
Helmer, L.G. and Bartley, E.E.. (1971). Progress in the utilization of urea as a protein replacer for ruminants. A review. J. Dairy Sci. 54:25.
Papasolomontos, S.A. and Wilkinson, J.I.D. (1976). Aspects of digestion of heat processed cereals by ruminants. In. Optimising the Utilization of Cereal Energy by Cattle and Pigs. US. Feed Grain Council. London p. 36-60.
Steel, R.G.D. and Torrie, J.H. (1981). Principles and Procedures of Statistics: a Biometrical Approach. 2nd Ed. McGraw-Hill Book Company, Singapore. 633 p.
Van Soest, D.J. (1982). Nutritional Ecology of the Ruminant. O+B Books. Inc. Oregon. 373 p.