การแก้ไขปัญหามลภาวะในฟาร์มสุกรไกร

Main Article Content

วันดี เจี่ยเจริญ

บทคัดย่อ

มลภาวะที่เกิดจากฟาร์มสุกร เป็นปัญหาสำคัญมากปัญหาหนึ่งในปัจจุบัน เนื่องจากมีการตื่นตัวทางด้านสภาพแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วไป ได้แก่ ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น และก๊าซพิษ, ปัญหาการเกิดโรค และการแพร่กระจายของเชื้อโรค, รวมทั้งพาหะนำโรคต่างๆ. นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่อง มลภาวะในแหล่งน้ำธรรมชาติที่เกิดจากการระบายน้ำเสียออกจากฟาร์มสุกร  ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะจากฟาร์มสุกร ได้แก่ : (1) มูลสุกร  และเศษอาหารที่ตกค้างในคอก (2) ปัสสาวะ และน้ำล้างดอกสุกร.


สำหรับการแก้ไขปัญหาด้านมลภาวะจากฟาร์มสุกร มีได้หลายวิธี คือ: (1) การจัดการด้านโรงเรือนให้เหมาะสม (2) การใช้วัสดุรองพื้นคอก (3) การจัดเก็บของเสียออกจากฟาร์ม และการกำจัดด้วยวิธีที่เหมาะสม (4) การนำเอาของเสียจากฟาร์มสุกรไปใช้ประโยชน์ ด้วยการนำมูลสุกรไปเป็นอาหารสัตว์, อาหารปลา, เพาะหนอนแมลงวันเพื่อเป็นอาหารสุกรหรือปลา, เป็นปุ๋ยสำหรับพืช  และการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ เพื่อนำมูลสุกรและของเสียจากฟาร์มมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานต่อไป.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. (2533). สรุปผลการฝึกอบรมเกษตรกรเรื่องการกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มสุกร. ประจำปีงบประมาณ 2532-2533. กรมปศุสัตว์, กรุงเทพฯ. 23 น.
กรมปศุสัตว์. (2534). สรุปรายงานโครงการศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงสุกรบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน. กรมปศุสัตว์, กรุงเทพฯ. 63 น.
คันโท, อุทัย. (2532). การใช้มูลสุกรเป็นอาหารสัตว์. สุกรสาส์น 61(16): 21-25.
จันทร์สว่าง, สมชัย. (2530). การเลือกที่ขับถ่ายและที่หลับนอนของสุกร. สุกรสาส์น 53(14): 40-42.
ไขยวงศ์เกียรติ, ดีพร้อม. (2535). การเลี้ยงหมูบนขี้เลื่อย, อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 59 น.
นิรนาม. (2533). ขั้นตอนการสร้างบ่อก๊าซชีวภาพ. สุกรสาส์น 66 (17): 39-58.
บุญช่วยดี, ปราการ. (2532). การใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพ. สุกรสาส์น 59(15): 43-45.
ฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย. (2534). การเลี้ยงปศุสัตว์บนปอปลา. สุกรสาส์น 70 (18): 55-59.
พารักษา, นวลจันทร์. (2531). การใช้มูลสุกรผลิตกระแสไฟฟ้า. สุกรสาส์น 56(14): 69-75.
พารักษา, นวลจันทร์. (2531). การใช้มูลสุกรเลี้ยงปลา. สุกรสาส์น 57(15): 47-52.
เลาศรีรัตนชัย, อโนชา. (2530). การจัดการมูลสุกร. สุกรสาสน 55(14): 53-61.
วนาสิทธิชัยวัฒน์, วิโรจน์. (2534). แนวทางใหม่ในการลดกลิ่นและมูลสุกร. วารสารสัตวบาล 1(1): 79-80.
วนาสิทธิชัยวัฒน์, วิโรจน์ และ เสสกุล, มาลิน. (2532). การเพาะหนอนแมลงวัน. สุกรสาส์น 60(15): 25-29.
วนาสิทธิชัยวัฒน์, วิโรจน์ และชมชัย, ศรีสุวรรณ. (2534). การผลิตกระแสไฟฟ้าจากมูลสุกร. วารสารสัตวบาล 1 (1): 27 36.
Diggs, B.G., Baker, Jr., B. and James, F.G. (1965). Value of pig feces in swine finishing rations. J. Anim. Sci. 24: 291 (Abstract).
FAO. (1980). Animal waste management. Animal production and health paper.
Gebhardt, P.L. and Anderson, D.A. (1965). Microbiology of Nature and Sewage. In: Microbiology. C.V. Mosby Company. p. 215-239.
Hohlfeld, J. and Sasse, L. (1985). Production and Utilization of Biogas in Rural Areas of Industrialized and Developing countries. Hoehl Druck, Germany.
Marrs, D.C., Campbell, D.R., Featgeratone, H.E. and Noland, P.R. (1977). Cited by Pond, W.G. and. Maner, J.H. (1984). Swine Production and Nutrition. The AVI Publishing Company. Inc., Westport, Connecticut, p.426.
Polprasert, C. (1989). Organic Waste Recycling. John Wiley & Sons Ltd., New York.
Sasse, L., Kellner, C. and Kimaro, A. (1991). Improved Biogas Unit for Developing countries. Lengericher Handelsdruckerei, Germany.