การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวญี่ปุ่นในฤดูนาปี

Main Article Content

ศุภศักดิ์ ลิมปิติ
วิบูลย์ ช่างเรือ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษา หาวิธีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม สำหรับข้าวญี่ปุ่น ที่ปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อลดปัญหาการร้าวของข้าวสาร ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ หลังการเก็บเกี่ยว ขั้นตอนที่ศึกษา ได้แก่ การลดความชื้นในแปลง การนวดข้าวด้วยเครื่องนวด การลดความชื้นด้วยเครื่องลดความชื้นแบบใช้ลมร้อน.


ผลการศึกษาพบว่า การลดความชื้นในแปลง ทำให้เกิดการร้าวได้ถึงประมาณ 20-25%  และการเปียกซ้ำ (Rewetting) ยิ่งทำให้มีการร้าวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าการนวดข้าวญี่ปุ่นด้วยเครื่องนวดข้าวแบบซี่ตรงที่ความเร็วลูกนวด 700-1100 รอบต่อนาที ไม่ทำให้การร้าวเพิ่มขึ้น และการนวดมีผลต่อคุณภาพหลังการสีของข้าวสารเพียงเล็กน้อย รอบลูกนวดที่เหมาะกับการนวดข้าวญี่ปุ่นพันธุ์ TCC12 ที่สุดคือ 900 รอบ/นาที (1580 เมตร/นาที)


การลดความชื้นด้วยลมร้อนทำให้การร้าวของเมล็ดเพิ่มขึ้น การร้าวจะเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นชัด เมื่อความชื้นลดลงมาถึง 18% และต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม การลดความชื้นลงมาถึง 14% ทำให้เมล็ดข้าวแกร่งขึ้นและทำให้คุณภาพการสีดีกว่าข้าวที่ไม่ผ่านการลดความชื้น.


ในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของข้าวญี่ปุ่นในฤดูนาปี การเปียกซ้ำมีผลต่อคุณภาพการสีอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่การลดความชื้นทั้งการตากในแปลง และใช้เครื่องลดความชื้น มีผลให้เกิดการร้าวมากที่สุดอย่างไรก็ตามเปอร์เซ็นต์การร้าวของข้าวที่ตรวจพบ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการสี กล่าวคือข้าวชุดที่พบว่าที่เปอร์เซ็นการร้าวสูงนั้น เมื่อนำไปสี พบว่าเปอร์เซ็นต์ข้าวหักจากการสีไม่ได้สูงตามไปด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สายคำชมภู, วิชัย. (2535). โครงการพัฒนาข้าวญี่ปุ่น. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ ข้าว และธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 7. 11-12 กุมภาพันธ์, ศูนย์วิจัยข้าวแพร่.
ธไนศวรรยางกูร, ศรปราชญ์. (2534). หัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัท ที ซี ซี การเกษตร จำกัด ถนนห้วยแก้ว เชียงใหม่. (ติดต่อส่วนตัว).
Araullo, E.V., de Padua, D.B. and Graham, M. (1976). Rice Postharvest Technology. IDRC, Ottawa.
Ban, T. (1971). Rice cracking in high rate drying. Jpn. Agri. Res. Q. 6(2): 113-116.
Henderson, S.M. (1958). The causes and characteristics of rice checking. Rice J. 57(5): 16-18.
Kunze, O.R. (1977) Fissuring of the rice grain after heated air drying. ASAE winter meeting Chicago, Dec., 13-16. Pap. 77-3511.
Kunze, O.R. and Prasad, S. (1978). Grain fissuring potentials in harvesting and drying of rice. Trans. ASAE 21(2): 361-366.