การศึกษานิเวศวิทยาของหนอนเจาะต้นกาแฟ <I>XYLOTRECHUS QUADRIPES </I>CHEVROLAT (COLEOPTERA: CERAMBYCIDAE) ในภาคเหนือของประเทศไทย II. พฤติกรรมในการผสมพันธุ์ และประสิทธิภาพในการแพร่พันธุ์

Main Article Content

จริยา วิสิทธิ์พานิช

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ และประสิทธิภาพในการแพร่พันธุ์ของหนอนเจาะต้นกาแฟ Xylotrechus quadripes Chevrolat ได้ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ และในกรงเลี้ยงแมลงขนาด 8 x 16 x 3.5 เมตร  จากผลการเฝ้าดูพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ของแมลงในช่วง 15 วัน  พบว่าแมลงมีการจับคู่ผสมพันธุ์กันในเวลากลางวัน ทั้งเพศผู้และเพศเมียต่างก็มีโอกาสเท่ากันในการหาคู่ อาจจะเป็นตัวเมียบินเข้าหาตัวผู้ที่เกาะอยู่ หรือตัวผู้บินเข้าหาตัวเมียที่เกาะอยู่บนต้นกาแฟ.


แมลงมีประสิทธิภาพในการวางไข่สูง และมีอายุยืนยาวในสภาพที่มีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูงในเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ซึ่งมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 74.17-78.69% แมลงจะวางไข่เป็นจำนวนมากในสภาพที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสม  ประมาณ 31.02-31.52% ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำกว่านี้ แมลงจะวางไข่ได้น้อยลงนอกจากสภาพแวดล้อมภายนอกดังกล่าวแล้ว  ขนาดของแมลงก็มีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับจำนวนไข่ที่วางและความยืนยาวของอายุ  แมลงที่มีขนาดใหญ่จะสามารถวางไข่ได้มาก และมีอายุยืนยาวกว่าแมลงที่มีขนาดเล็ก  ด้วงหนวดขาวตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะไม่วางไข่  ถึงแม้จะมีไข่สมบูรณ์อยู่เต็มท้องก็ตาม.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พงษ์แสวง, โกวิทย์., จิตต์ชื่น, วินัย., คมสัน, อัมพร., สุทธยศ, สุชา. (2533). สารฆ่าแมลงบางชนิดกับหนอนแทะเปลือกลำต้นกาแฟ. รายงานการประชุมทางวิชากา รกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 2 กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ.
วิสิทธิ์พานิช, จริยา. (2532). แมลงศัตรูกาแฟอราบีก้าที่สำคัญบนที่สูงของประเทศไทย และแนวทางป้องกันกำจัด. วารสารเกษตร 5(1): 55-62.
วิสิทธิ์พานิช, จริยา. (2534). การศึกษานิเวศวิทยาของหนอนเจาะต้นกาแฟ Xylotrechus quadripes Chevrolat (Coleoptera: Cerambycidae) ในภาคเหนือของประเทศไทย l. รูปร่างลักษณะและชีววิทยาของแมลง. วารสารเกษตร, 7(3): 228-241.
วิสิทธิ์พานิช, จริยา และ บูรณพานิชพันธุ์, ไสว. (2535). ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมตัวเต็มวัยของหนอนเจาะต้นกาแฟ Xylotrechus quadripes Chevrolat ในเวลากลางวัน, วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร (3) กำลังจัดพิมพ์.
Adachi, L. (1988). Reproductive biology of the white-spotted longicorn beetle, Anoplophora malasiaca Thomson (Coleoptera: Cerambycidae), in citrus trees. Appl. Ent. Zool. 23(30): 256–264.
Akutzu, K. (1985). Studies on biology and control of udo longicorn beetle (Acalolepta luxuriosa Bates). Bull. Tokyo Metrop. Agric. Exp. Stn. 18: 1-72.
Iwabuchi, K. (1982). Mating behavior of Xylotrechus pyrrhoderus Bates (Coleoptera: Cerambycidae) I. Behavioral sequences and existence of the male sex pheromone. Appl. Ent. Zool. 17(4): 494-500.
Linsley, E.G. (1959). Ecology of Cerambycidae. Ann. Rev. Ent. 4: 99–138.
Ochi, K. (1969). Ecological studies on cerambycid injurious to pine trees (II) Biology of two Monochamis (Coleoptera, Cerambycidae). J. Jap. For. Soc. 51: 188-192.
Subramanium, T.V. (1934). The coffee stem borer. Bull. Dept. Agric. Mysore, Ent. Ser. 11, 18 pp., Bangalore.
Sekhar, P.S. (1958). Pests of coffee and their control. Indian Coffee 22: 220-242.
Togashi, K. and Magira, H. (1981). Age-specific survival rate and fecundity of the adult Japanese pine sawyer, Monochamus altesnatus Hope (Coleoptera: Cerambycidae), at different emergenic times. Appl. Ent. Zool. 16(4): 351–361.
Wyniger, R. (1962). Pests of Crop in Warm Climates and their control. Besel Verlag Fur Recht and Gesell Schaff AG. 55 p.