การเปรียบเทียบวิธีการวัดแอมโมเนียมในสารละลายที่สกัดได้จากดินโดยวิธีต่าง ๆ

Main Article Content

อรวรรณ ฉัตรสีรุ้ง

บทคัดย่อ

การทดลองในห้องปฏิบัติการได้ทำขึ้นเพื่อเปรียบเทียบวิธีการ 3 วิธี ที่ใช้ในการหาความเข้มข้นของแอมโมเนียมในดินโดยใช้ 0.01 M CaCI2 เป็นตัวสกัด วิธีการ 3 วิธีดังกล่าวคือ: NH3- gas diffusion electrode, Continuous flow system (CFS) was High Pressure Liquid Chromatography (HPLC) อิทธิพลของระยะเวลาที่ปล่อยสารละสายทิ้งไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งก็ได้รับการทดสอบด้วยความเข้มข้นของแอมโมเนียมในสารละลายที่สกัดด้วย 0.01 M Cacl2 และวัดโดยวิธี CFS และวิธี HPLC ให้ค่าใกล้เคียงมาก ค่าที่ได้จากการวัดโดยวิธี  Gas-diffusion electrode ต่ำกว่าค่าที่วัดโดย CFS เล็กน้อยในตัวอย่างดินที่อบที่อุณหภูมิ 40 °C แต่สำหรับตัวอย่างดินที่อบที่อุณหภูมิ 105 °C ค่าที่ได้จากการวัดโดยวิธี Gas-diffusion electrode จะสูงกว่าค่าที่วัดโดย CFS เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ค่าความเข้มข้นที่ต่ำของแอมโมเนียมโดยใช้ Gas-diffusion electrode แล้วจึงสรุปว่าค่าดังกล่าวไม่แตกต่างกันในทางสถิติ ค่าความเข้มข้นของแอมโมเนียมในสารละลายที่ได้จากดินไม่เปลี่ยนแปลง  ในช่วงระยะเวลาที่เก็บไว้อย่างน้อย 5 ชั่วโมงผลการทดลองนี้ให้ผลเหมือนกันถ้าใช้เวลาในการเขย่าดินเพียง 30 นาที แทนที่จะเป็น 2 ชั่วโมงดังปกติ.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bogdanovic, D. (1989). Influence of drying temperature and drying conditions on extractable nutrients and elements by 0.01 M Cacl2 Master Thesis, Agric. Univ. Wageningen, The Netherlands, 39p.
Hasset, J.J. (1982). High-pressure liquid chromatography. In: Methods of Soil analysis, part 2. Page et al. (eds.) Soil Science Society of America, Inc. pp 123–131.
Shao Xiao Hou. (1988). Aspects of the study of 0.01 Cacl2 as extracting solution for different N fractions in soils. Master Thesis, Agric. Univ. Wageningen The Netherlands, 55p.
Villalobos-Penalosa, M. (1989). Standardization of the use of an ammonia gas-selective electrode to determine low concentrations of ammonium. Minor Thesis, Agri. Univ. Wageningen, The Netherlands, 13 p.