มีรายงานที่น่าสนใจมากจากสถาบันวิจัยข้าว International Rice Research Institute (IRR) ประเทศฟิลิปปินส์ โดย ดร. F.J. Zapata หัวหน้าแผนกเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue cultured facility) (หนังสือพิมพ์ THE NATION, 1992) แถลงว่า  สามารถปลูกข้าวจากเซลล์รูปโปรโตพลาสท์ (Protoplasts หรือ Naked rice cells) จนกระทั่งเป็นต้นข้าว โดยสามารถทำได้กับข้าวสาย lndica ชื่อ IR 58, IR 43 และ Wag-wag (พันธุ์ของประเทศฟิลิปปินส์) จากเทคนิคนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับนำยีน (Gene) แปลกปลอมที่เป็นประโยชน์ฝากไว้ในเซลล์โปรโตพลาสท์ของข้าวโครงการต่อไปของนักวิจัยที่สถาบัน IRRl  จะทำคือย้ายยีนที่ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนกับต้นข้าว  อันจะเป็นผลให้ต้นข้าวสามารถตรึงไนโตรเจน จะมีผลปฏิวัติการเพิ่มผลผลิตของข้าวในอนาคตเป็นอย่างมาก. ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตข้าวมาเป็นเวลานาน  และการปลูกข้าวผูกพันกับวิถีชีวิตของเกษตรกรมานานนับพันปี ความก้าวหน้าทางวิชาการด้านนี้จึงน่าติดตามยิ่ง งานวิจัยแบบนี้ควรทำหรือไม่? โดยใคร? และอย่างไร? คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในหมู่นักวิจัยเองคงมีความคิดทั้งด้านบวกและด้านลบต่องานวิจัยประเภทนี้  ข้อโต้แย้งอาจเป็นทำนองว่าเป็นงานต่อยอดฝรั่ง  ยังห่างไกลจากการปฏิบัติจริง  หรือเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับการเกษตรบ้านเรา  อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีแบบนี้เป็นประตูเปิดสู่ความเป็นไปได้ที่จะแทรกแซงการทำงานของเซลล์พืชในอนาคต  น่าจะคุ้มกับการฝึกกำลังคนสำหรับงานประยุกต์ที่จำเป็นต้องทำในอนาคต. ใครควรทำงานด้านนี้ ? ถ้ามองกลุ่มนักวิจัยในบ้านเราหลายท่านอาจจะชี้ไปที่กลุ่มไบโอเทคโนโลยี (Biotechnology) มักจะเป็นผู้ผูกขาดงานทางด้านนี้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น จากคณาจารย์ที่มีอยู่ในคณะเกษตรศาสตร์ ถ้าอาจารย์ในสาขา พืชไร่, พืชสวน, และโรคพืชจะทำงานทดลองด้านนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด  ทั้งนี้เนื่องจาก งานด้านโปรโตพลาสท์  ต้องการพื้นฐานด้านพันธุศาสตร์, ชีวเคมี  และจุลชีววิทยา ที่ทุกคนมีพื้นฐานอยู่แล้ว  เพียงแต่ต้องการการฝึกฝนแบบลุ่มลึกเพิ่มเติมเท่านั้น การทำงานควรมีการร่วมมือระหว่างสาขาวิชาให้มากขึ้น  โดยเฉพาะในหน่วยงานที่มีการจัดสาขาวิชาแบบหนีศูนย์กลางอยู่ตลอดเวลา การถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างนักวิจัยจะเกิดขึ้นได้น้อยและกลไกที่จำเป็นสำหรับการร่วมงานระหว่างสาขาวิชาที่ขาดไม่ได้คือ การสัมมนาในหน่วยงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบถ้าไม่มีสิ่งนี้แล้ว  จะเป็นการต่างคนต่างทำยากที่จะร่วมงานกันได้.

สุดท้ายนี้ใคร่ขอขอบพระคุณ รศ.ดร. มานัส  แสนมณีชัย ที่ได้กรุณาตรวจแก้ไขงานบางเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารเกษตรฉบับนี้ อีกประการหนึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าสมัครเป็นสมาชิกตามแบบฟอร์มที่แนบมากับเล่มนี้ และใคร่ขอความอนุเคราะห์บุคคล  หรือหน่วยงานที่ได้รับวารสาร โปรดส่งค่าสมาชิกด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง

เผยแพร่แล้ว: 2020-10-30

โรคเหี่ยวของกาแฟอราบิก้า (COFFEA ARABICA LINN.) และการทดสอบสารเคมีในการควบคุมโรค

ชาตรี สิทธิกุล, วิชชา สอาดสุด, นิธิ ไทยสันทัด, พัชรพรรณ ชุมศรี

242-250

แร่ธาตุกับสัตว์เคี้ยวเอื้องในประเทศไทย

บุญเสริม ชีวะอิสระกุล, กษิดิส อื้อเชี่ยวชาญกิจ

251-266

การใช้เมล็ดทานตะวันระดับสูงในอาหารไก่ไข่

สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ , บุญล้อม ชีวะอิสระกุล

275-288