การศึกษาเปรียบเทียบการเลี้ยงขุนโคขาวลำพูนเพศผู้ไม่ตอนในคอกด้วยอาหารข้น 2 ระดับ

Main Article Content

โชค มิเกล็ด
นิรันดร โพธิกานนต์
ถวิล การภิญโญ

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาทดลองขุนโคขาวลำพูนเพศผู้ไม่ตอนในคอก  โดยใช้โคอายุประมาณ 1-1 1/2 ปี แบ่งสุ่มตามน้ำหนักออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 7 ตัว  โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารข้นร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัว และกลุ่มที่ 2 ร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัว  ทำการเลี้ยงขุนโดยใช้อาหารหยาบตามสภาพที่มีอยู่จนถึงน้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม  ผลการทดลองพบว่าโคทั้งสองกลุ่มมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันเฉลี่ย 492.7 กรัม (P> 0.05)  โดยใช้เวลาในการขุนเฉลี่ย 307 วัน (P> 0.05)  โคกลุ่มที่ 1 กินอาหารรวมเฉลี่ย 5.61 กิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่าโคกลุ่มที่ 2 ที่กินได้วันละ 6.15 กิโลกรัม (P <0.05) แต่ปรากฏว่าโคทั้ง 2 กลุ่ม  ใช้อาหารในการเพิ่มน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม  ไม่แตกต่างกันโดยต้องใช้  อาหารเฉลี่ย 12. 16 กิโลกรัม (P> 0.05) สำหรับต้นทุนในการเลี้ยงขุนเฉพาะค่าตัวโครวมกับค่าอาหารในกลุ่มที่ 1 เท่ากับ 6,605. 12 บาท และกลุ่มที่ 2 เท่ากับ 7,800.97 บาท (P <0.01) ทำให้การเลี้ยงขุนโคกลุ่มที่ 1 ได้กำไรเฉลี่ยต่อตัว 1,537.31 บาท และโคกลุ่มที่ 2 ได้กำไรเพียง 409.28 บาท (P <0.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทร์เจริญ, พิทักษ์. (2528), ตลาดนัดโคกระบือในภาคเหนือ, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดวงพัตรา, ประเทศ., และรัตนรณชาติ, สุวัฒน์. (2527). การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับคาริโอไทป์ของโคขาวลำพูน. จุลสารโคกระบือ 7(2): 37-42.
บุญภักดี, วัชรินทร์., และจันทรมหา, ชัยวัฒน์. (2516). การใช้ใบและหัวมันสำปะหลังเสริมด้วยยูเรียและโมลาสในการขุนโค. สำนักงานวิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ ขอนแก่น (เอกสารโรเนียว).
พฤกษะศรี, ปรารถนา., เพียบพร้อม, สมศักดิ์., เจตนเสน, ชลสิทธิ์., และขันทอง, สมทบ. (2533). การขุนโคลูกผสมอเมริกันบราห์มันโดยเกษตรกรรายย่อย. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 28 สาขาสัตว์. สัตวแพทย์ และประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
มิเกล็ด, โชค., โพธิกานนท์, นิรันดร., และการภิญโญ, ถวิล. (2531). การเลี้ยงโคขาวลำพูนในสภาพทุ่งหญ้าและการเลี้ยงขุนในคอก. รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นอาหารสัตว์. จ. เชียงราย, 25-27 พฤษภาคม 2531.
วรรณพัฒน์, เมธา., ประเสริฐสุข, สมโภชน์., จันทร์ไทย, ศักดิ์สิทธิ์., และศิวประภากร, อภิชัย. (2525). การใช้ฟางหมักยูเรียและมันเส้นเพื่อเลี้ยงโคในช่วงหน้าแล้ง. รายงานการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 20 สาขาสัตวศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เวียรศิลป์, เทอดชัย. (2522). กาดวัว กาดควาย. จุลสารกระบือ 2(2): 42-48.
Potikanond, N. and Mikled, C. (1986). Productivity of native cattle grazing Hamil grass-Centro pasture at three stocking rates. Thai J. Agric. Sci. 19: 263-269.
Prucsasri, P., Srichun, S., Kanthapanit, C. and Priapphrom, S. (1990). Effect of Breed, Age and Type of roughage on growing finishing steers. Proc. 28th Academic Conference, Kasetsart University, Bangkok.
Steel, R.G.D., and Torrie, J.H. (1960). Principle and Procedures of Statistics. McGraw - Hill Book Company, Inc., New Yerk. 481 pp.