การศึกษานิเวศวิทยาของหนอนเจาะต้นกาแฟ <I>XYLOT RECHUS QUADRIPES</I> CHEVROLAT (COLEOPTERA: CERAMBYCIDAE) ในภาคเหนือของประเทศไทย 1. รูปร่างลักษณะและชีววิทยาของแมลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการศึกษาทางนิเวศวิทยาของหนอนเจาะต้นกาแฟ Xylotreeous quadripes Chevrolat (Coleoptera: Cerambycidae) ได้ทดลองในห้องปฏิบัติการ (29-31°C) และสวนกาแฟในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2533-2534 ผลจากการศึกษาระยะการเจริญเติบโตและชีววิทยาในห้องปฏิบัติการพบว่า ด้วงหนวดยาวตัวเมียซึ่งเป็นตัวเต็มวัยของหนอนเจาะต้นกาแฟ วางไข่ได้ตั้งแต่ 7-238 ฟอง เฉลี่ย 103 ฟองต่อตัว ตลอดชั่วอายุขัยระยะไข่เฉลี่ย 5 วัน จากการวัดความกว้างของหัวกระโหลก (Head capsule) ของหนอนแต่ละระยะการเจริญเติบโต ผลปรากฏว่า หนอนมีการเจริญเติบโตทั้งหมด 6 ระยะด้วยกัน ระยะการเจริญเติบโตของหนอนในท่อนแฟจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัยมีอายุเฉลี่ย 77 วัน ในขณะที่หนอนซึ่งเจาะกินในต้นกาแฟที่ย้ายปลูกในกระถางมีอายุยาวนานเฉลี่ย 153 วัน แมลงที่เจริญเติบโตในสภาพธรรมชาติมีอัตราส่วนของเพศผู้ต่อเพศเมีย 1: 2 สำหรับแมลงที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการมีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1: 1.3 รวมระยะการเจริญเติบโตของตัวเมียที่เลี้ยงบนท่อนกาแฟเริ่มจากไข่จนสิ้นอายุขัยเฉลี่ย 91 วัน.
จากการสำรวจชนิด และปริมาณของแมลงศัตรูธรรมชาติในแปลงปลูกกาแฟในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีแตนเบียน 3 ชนิด อยู่ในวงศ์ Aulacidae, Stephanidae และ Ichneumonidae โดยเฉพาะอย่างยิ่งแตนเบียน Pristaulaas sp. ในวงศ์ Audacidae พบในปริมาณสูงกว่าชนิดอื่น คาดว่าจะเป็นแตนเบียนที่มีศักยภาพสูง ที่จะสามารถนำมาใช้ควบคุมปริมาณของหนอนเจาะต้นกาแฟ X. quadripes ได้ต่อไป.
Article Details
References
พงษ์แสวง, โกวิทย์., จิตต์ชื่น, วินัย., คมสัน, อัมพร., และ สุทธยศ, สุขา (2533). สารฆ่าแมลงบางชนิดกับหนอนแทะเปลือกลำต้นกาแฟ. รายงานการประชุมทางวิชาการกองกีฏและสัตว์วิทยา กรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 7 กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ.
วิสิทธิ์พานิช, จริยา. (2532). แมลงศัตรูกาแฟอราบิก้าที่สำคัญบนที่สูงของประเทศไทยและแนวทางป้องกันกำจัด. วารสารเกษตร 5(1): 55-62.
วิสิทธิ์พานิช, จริยา. (2533). การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกาแฟโดยวิธีผสมผสาน. รายงานผลการวิจัย ประจำปี 2533. โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Le Pelley, R.H. (1973). Coffee Insects. Ann. Rev. Entomol. 18: 121-142.
Linsley, E.G. (1959). Ecology of Cerambycidae. Ann. Rev. Entomol. 4: 99-138.
Subramaniam, T.V. (1934). The coffee stemborer. Bull. Dept. Aric. Mysore, ent. der. 11, 18 PP., Bangalore.