โรคเหี่ยวของกาแฟอราบิก้า (<I>COFFEA ARABICA </I>LINN.) และการทดสอบสารเคมีในการควบคุมโรค

Main Article Content

ชาตรี สิทธิกุล
วิชชา สอาดสุด
นิธิ ไทยสันทัด
พัชรพรรณ ชุมศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาโรคเหี่ยวของกาแฟอราบิก้า (Coffea arabica Linn.) ที่แปลงปลูกกาแฟของเกษตรกรที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในปีพศ. 2531 เพื่อศึกษาการแพร่ระบาด และตรวจหาเชื้อสาเหตุของโรค  พบว่าในกาแฟจำนวน 2,500 ต้น  มีกาแฟที่แสดงอาการโรคเหี่ยว 808 ต้น  หรือคิดเป็นร้อยละ 32.32 การแยกเชื้อสาเหตุจากต้นที่เป็นโรคพบเชื้อรา Fusarium Solani, F. decemcellulare และ F. semitedum นอกจากนั้นยังพบว่า ต้นที่แสดงอาการโรคเหี่ยวส่วนใหญ่มีหนอนเจาะลำต้น (Xylotredius quadripes, Cerambycidae) เข้าทำลายร่วมด้วยการศึกษาครั้งนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าหนอนเจาะลำต้นเป็นสาเหตุทำให้เชื้อราเข้าสู่บาดแผลบนลำต้นหรือไม่ หรือเชื้อราอาจเข้าทำลายพืชเองโดยลมหรือน้ำพัดพามา  ส่วนการทดสอบสารเคมีกำจัดเชื้อรา 6 ชนิด  ในห้องปฏิบัติการ และในสภาพธรรมชาตินั้น  ผลปรากฏว่ามีสารเคมีบางชนิดใช้ได้ผลในห้องปฏิบัติการส่วนในสภาพธรรมชาตินั้นสารเคมีทุกชนิดไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค และการทดสอบการปลูกเชื้อบนต้นกาแฟในห้องปฏิบัติการ พบว่าไม่สามารถทำให้ต้นกาแฟเป็นโรคได้เหมือนในธรรมชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศรีชูวงศ์, สมบัติ. (2530). ภาควิชาโรคพืช, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ 50002 ติดต่อส่วนตัว.
Baker, C.J. (1970). Coffee bark disease in Kenya. Kenya Coffee 35: 1-3.
Baker, C.J. (1972). Fusarium solani associated with a wilt of Coffea arabica in Kenya. East African Agricultural and Forestry Journal. 38(2): 137-140.
Booth, C. (1977). Fusarium laboratory guide identification the major species. Commonwealth Mycological Institute, Kew, Surrey, England. 58 p.
Buyckx, E.J.E. (1962). Precis des maladies et des insectes nuisibles rencontres sur les plantes cultivees au congo, au Rwanda et au Burundi, INEAC. 708 pp.
Yodmanee, Chavalit. (1988). Coffee as a cashcorp to substitute opium poppy. International Seminar on Coffee Technology, Highland Coffee Research and Development Centre, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai 50002, Thailand.