การใช้เมล็ดทานตะวันระดับสูงในอาหารไก่ไข่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการใช้เมล็ดทานตะวันระดับสูงในอาหารไก่ไข่ เพื่อให้ทราบถึงสมรรถภาพการผลิตไข่ และคุณภาพไข่ เมื่อใช้เมล็ดทานตะวันซึ่งมีระดับโปรตีน 19.7% และ 3.868 kcal ME/g ผสมในสูตรอาหารทดแทนกากถั่วเหลืองในระดับ 75 และ 100% หรือเทียบเท่ากับใช้ในสูตรอาหาร 29 และ 39% ตามลำดับเปรียบเทียบกับการไม่ใช้เมล็ดทานตะวันซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้อาหารไก่ไข่สำเร็จรูปผลิตโดยบริษัทและกลุ่มที่ใช้อาหารผสมขึ้นเอง อาหารทดลองทุกกลุ่มมีโปรตีน 16% เหมือนกันหมด โดยใช้เลี้ยงไก่ไข่พันธุ์อิซาบราวน์ (Isabrown) อายุ 23 สัปดาห์ จำนวน 288 ตัว แบ่งออกโดยสุ่มเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ เลี้ยงบนกรงตับแบบขังเดี่ยว มีน้ำและอาหารกินตลอดเวลา และได้รับแสงสว่างวันละ 17 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลาทดลอง 168 วันปรากฏว่า ผลผลิตไข่และปริมาณอาหารที่กินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) เมื่อเพิ่มระดับการใช้เมล็ดทานตะวันในอาหาร เป็นผลให้ประสิทธิภาพการใช้อาหาร (ต่อการผลิตไข่ 1 โหล หรือ 1 กก.) ด้อยลงเมื่อเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่มีการใช้กากถั่วเหลือง มีผลผลิตไข่และประสิทธิภาพการใช้อาหารเลวลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนผลของน้ำหนักตัวเพิ่ม อัตราการตาย และคุณภาพไข่ ไม่พบความแตกต่างกันในทุกกลุ่ม ยกเว้นน้ำหนักไข่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความเข้มของสีไข่แดงลดลงตามการใช้เมล็ดทานตะวันเพิ่มขึ้นในสูตรอาหาร.
สำหรับการใช้อาหารไก่ไข่ของบริษัทเทียบกับสูตรอาหารที่ผสมใช้เอง ไม่มีผลทำให้สมรรถภาพการผลิตไข่และคุณภาพไข่แตกต่างกัน ยกเว้นไข่ไก่จากกลุ่มอาหารบริษัทมีความถ่วงจำเพาะและความเข้มของสีไข่แดงเพิ่มขึ้น แต่ฟองไข่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนผลในช่วงท้ายของการทดลองซึ่งให้แม่ไก่ทุกกลุ่มได้รับอาหารเปรียบเทียบต่อไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ทุกกลุ่มให้ผลผลิตไข่และประสิทธิภาพการใช้อาหารไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มที่เคยได้รับเมล็ดทานตะวันมาก่อนยังคงให้ไข่ขนาดฟองโตกว่า.
Article Details
References
ตั้งทวีวิพัฒน์, สุชน., และชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2533 ข). การใช้เมล็ดทานตะวันเป็นแหล่งโปรตีนและพลังงานในอาหารสัตว์ปีก. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 28, สาขาสัตวศาสตร์ หน้า 47-59. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ฤกษ์เกษม, เบญจวรรณ. (2530). การเปรียบเทียบทานตะวันลูกผสมที่เชียงใหม่, ว. เกษตร 3(2): 101-113.
Daghir, N.J., Raz, M.A. and Uwayjan, M. (1980). Studies on the utilization of full fat sunflower seed in broiler rations. Poutry Sci. 592273-2278.
Doran, B.H., Krueger, W.F. and Bradley, J.W. (1982). The feasibility of phase feeding surphur amino acid to egg production stock during the laying period. Poultry Sci. 61(7): 1453.
Lee, K. and Moss, C.W. (1989). Performance of laying chickens fed diets containing confectionary- type sunflower seeds. Poultry Sci. 68:84.
Lee, P.K. and Yang, Y.F. (1980). Raw unhulled sunflower seed as feedstuff for broiler chicks. J. of the Taiwan Livestock Res. 13(2): 49-57.
Karunajeewa, H., Abu-Serewa, S. Tham, S.H. and Eason, P. (1987). The effects of dietary level of sunflower seeds and lysine on egg quality and laying performance of White Leghorn hens. J. Sci. Food and Agric. 41(4): 325-333.
Kashani, A. and Carlson, C.W. (1988). Use of sunflowe seeds in grower diets for pullets and subsequent performance as affected by aureomycin and pelleting. Poultry Sci. 67: 445–451.
Mayer, R.O. and Cheeke, P.R. (1975). Utilization of alfalfa meal and alfalfa protein concentrate by rats. J. Anim. Sci. 40: 500-508.
National Research Council (NRC). (1984). Nutrient requirements of poultry, 8th Ed. National Academy Press, Washington, D.C., USA.
North, M.O. (1984). Commercial Chicken Production Mannual. AVI. Publishing Company, Inc., Westport, USA.
Scott, M.L. (1982). Nutrient requirement of poultry. Feedstuffs Year Book Issue. 50(30): 57-58.
Shannon, D.W.F. and Whitehead, C.C. (1974). Lack of a response in egg weight or output to increasing levels of linoleic acid in practical layer’s diets. J. Sci. Food Agric. 25: 553-561.
Steel, R.G.D. and Torrie, J.H. (1960). Principles and Procedures of Statistics. McGraw-Hill Book Company, Inc., New York, USA.
Uwayjan, M.G., Azar, E.J. and Daghir, N.J. (1983). Sunflower seed in laying hen rations. Poultry Sci. 62 1247-1253.