การย่อยได้ของแป้งจากมันสำปะหลังเส้น ข้าวเปลือกเจ้าบด และปลายข้าวเจ้า ในแต่ละส่วนของทางเดินอาหารของวัวนม

Main Article Content

เกรียงศักดิ์ สถาปนศิริ
เทอดชัย เวียรศิลป์
ชาญวิทย์ วัชรพุกก์

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาการย่อยได้ของแป้งในแต่ละส่วนของทางเดินอาหารของวัวนม จากอาหารที่ประกอบด้วย แป้งจากมันสำปะหลังเส้น ข้าวเปลือกเจ้าบด และปลายข้าวเจ้า จำนวน 42.9% (วัตถุแห้ง) ของอาหารทั้งหมดที่ วัวนมได้รับ โดยใช้วัวนมที่ผ่านการผ่าตัดใส่ท่อเก็บตัวอย่างอาหารที่บริเวณกระเพาะรูเมน (Rumen fistula) บริเวณ ส่วนต้นของลําไส้เล็ก (Proximal duodenum) และส่วนปลายของลําไส้เล็ก (Terminal ileum) จํานวน 3 ตัว ทํา การทดลองแบบ 3 X 3 Latin Square design และใช้วิธีการวิเคราะห์แป้งแบบ EnzyImic Imethod


ผลการทดลองปรากฏว่า ข้าวเปลือกเจ้าบดมีแป้งอยู่น้อยกว่าปลายข้าวเจ้า และมันสำปะหลังเส้นซึ่งมีแบ่งใกล้เคียงกัน (69.86%, 87.75% และ 87.78% ตามลำดับ) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของแป้งภายในกระเพาะรูเมนของวัวนมที่ได้รับ แป้งจากปลายข้าวเจ้าต่ำกว่า (P<0.01) วัวนมพวกที่ได้รับแป้งจากข้าวเปลือกเจ้าบดและมันสำปะหลังเส้น (0.63, 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ) เป็นผลทำให้แป้งเข้าไปในลำไส้เล็กของวัวนมที่ได้รับอาหารแป้งจากปลายข้าวเจ้ามากว่ามันสำปะหลังเส้น และข้าวเปลือกเจ้าบด (750, 135 และ 107 กรัม/ วัน/ ตัว ตามลำดับ) สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของแป้ง ภายในลำไส้เล็กแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เนื่องจากมีแป้งจากปลายข้าวเจ้าเข้าไปในลำไส้เล็กเป็นจำนวน มากกว่าแป้งจากมันสำปะหลังเส้นและข้าวเปลือกเจ้าบด จึงทำให้มีแป้งเหลือเข้าไปในลำไส้ใหญ่มากกว่าแป้งจากอาหาร อื่นๆ ด้วย และปรากฏว่า สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของแป้งภายในลำไส้ใหญ่ของอาหารทุกชนิดแตกต่างกัน แต่ไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของแป้งในทุกส่วนของทางเดินอาหาร มีค่า 0.95, 0.99 และ 1.00 สำหรับปลายข้าวเจ้า, ข้าวเปลือกเจ้าบดและมันสำปะหลังเส้น ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ


ระดับของ pH ภายในกระเพาะรูเมนของโคนมที่ได้รับแป้งจากมันสำปะหลังเส้นต่ำกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ แต่ไม่อยู่ในระดับที่จะทำให้เกิด Rumen Acidosis แต่อย่างใด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์, เจริญศักดิ์. (2519). มันสําปะหลัง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 326 น.
เลาหะเกษตร, ปฐม. (2524.) การใช้มันสําปะหลังเลี้ยงสัตว์, เพื่อนเกษตร, 8( 10) : 42-50.
อภิชาติสรางกูร, ทัศนีย์. และเวียรศิลป์, เทอดชัย. (2530.) การผ่าตัดใส่ท่อ Runnen Fistula ในวัวนมโดยวิธีการผ่าตัดครั้งเดียว (One Stage Operation), เวชชสารสัตวแพทย์ 17(4)349-355.
อภิชาติสรางกูร ทัศนีย์, และเวียรศิลป์, เทอดชัย. (2532.) การผ่าตัดใส่ท่อเก็บตัวอย่างอาหาร จากบริเวณส่วนต้น และส่วนปลายของลําไส้เล็กในโค. วารสารเกษตร, 5(1) : 29-36.
เวียรศิลป์, เทอดชัย. (2530 ก.) การย่อยแป้งในสัตว์เคี้ยวเอื้อง, เวชชสารสัตวแพทย์, 17(2) 78-92.
เวียรศิลป์, เทอดชัย. (2530 บ.) ปริมาณและอัตราการย่อยได้ของแป้งจากข้าวโพดในวัวนมที่เลี้ยง ด้วยเมล็ดข้าวโพดบดหรือฝักข้าวโพดหมัก. วารสารเกษตร, 3(1) : 1 - 18.
เวียรศิลป์, เทอดชัย. และอภิชาติสรางกูร, ทัศนีย์. (2531.) การผลิตท่อเก็บตัวอย่างอาหารจาก ซิลิโคนเพื่อใช้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง. วารสารเกษตร, 4(1) : 8 - 18.
ศรีพงษ์, วรพร. (2525) ข้าวเปลือก. รายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลงานวิจัยอันดับที่ 7 อาหาร สัตว์ปีก พ.ศ. 2517 - 24. กองวิเคราะห์โครงการและประเมินผล, สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน, 55 น.
Akinrele, 1.A., Cook, A.S. and Holgate, R.A. (1962.) The manufacture of gari from cassava in Nigeria, p. 633-6544.In Proc. 1st Int. Congress Fd. Technol. London. A.0.A.C. (1980.) Official Methods of Analysis. 13 th Ed., Association of Official Analytical Chemists, Washington, DC.
Bell, C.F., and Lott., K.A.K. (1966.) Modern Approach to Inorganic Chemistry. 2 d. ed., Butter worths, London. 333 p.
Brandt, M., Poedjwo, G. and Allam, S.W. (1983.) Zur eingang von Tio2-haltigem Polystyrol als Bezugssubstanz fuer Verdaulichkeits bestimmungen. Zeitchrift fuer Tierphysiologie, Tierernaerung und Futtermittelkunde. 50:10-19.
Brandt, M., Anke, S., Paivi, M. and Vearasilp, T. (1986.) Staerkebestimmung in Darminhalt und Kot von Kuehen mit thermostabiller Amylase. VOLUFA Schriftenreihe. Heft. 18:116-117.
Dreher, M.L., Dreher, C.J. and Berry, J.W. (1984.) Starch digestibility of foods. A nutritional perspective .CRC crit. REV, Food Sci.Nutr.20: 47-64
Ewing, D.L. and Johnson, D.E. (1987.) Corn particle, starch digestion passage and size reduction in beef steers: a dynamic model. J. Anim. Sci. 64:1194-1204.
Galyean, M.L., Wagner, D.G. and Owens, F.N. (1979.) Corn particle size and site and extent of digestion by steers. J. Anim. Sci. 49:204-210.
Hoover, W.H. (1978.) Digestion and absorbtion in the hindgut of ruminants. J. Anim. Sci. 46:1978-1985.
Janes, N.N., Wukes, T.E.C. and Armstrong, D.G.(1985). Carbohydrases activity in the pancreatic tissue and small intestine mucosa of sheep fed dried grass or ground maize-bases diet. J.Aagric. Sci. Camb. 104:435-444.
Karr, M.R., Little, C.O. and Mitchell, G.E. Jr. (1966.) Starch disappearance from different segments of the digestive tract of steers. J. Anim. Sci. 25:652-659.
Kaufmann, W. and Dirksen, G. (1972.) Zur Glukose-Resorption im Duenndarm. Fortschritte in der Tierphysiologie und Tierernaehrung. 1:38-47.
Ketiku, A.O. and Oyenuga, V.A. (1970.) Preliminary report on the carbohydrate constituents of cassava roots and yam tubers. Niger. J. Sci. 4(1): 25-30.
Khajarern, J.M., Terapuntuwat, S., Patanakulchai, V. and Khajarern, S. (1977.) Biological titration of Thai cassava root products of verious quality grade with broiler chicks. pp. 35-61.In. Annual Report of KKU-IDRC. Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand.
Mayes, R.W. and Ørskov, E.R. (1974.) The utilization of gelled maize starch in the small intestine of sheep. Br.J. Nutr. 32:143-150.
Moe, P.W., Tyrrell, H.F. and Hooven, N.W. (1973.) Physical form and energy value of corn grain. J. Dairy Sci. 56:1298-1304.
Muller, C., Chou, K.C. and Nah, K.C. (1974.) Paper presented at the Tropical Products Institute. Corference on Animal Feed of Tropical and Sub-tropocal Origin. London.
NRC.(1978.) Nutrient Requirements of Domestic Animals No. 3. Nutrient re quirement of dairy cattle. Nat. Acad. Sci. Washington. DC. 62 p.
Owen, F.N., Zinn, R.A. and Kim, Y.K. 1986. Limits to starch digestion in the ruminant small intestine. J. Anim. Sci. 63:1634-1648.
Ørskov, E.R. (1986.) Starch digestion and utilization in ruminants. J. Anim. Sci. 63: 1624-1633. Rooney, L.W. and Miller, F.R. (1982.) Variation in the structure and kernal characteristics of sorghum. pp. 143-161. In Proc. Sorghum Grain Quality Symp. Int. Crops Res. Inst. for the Semi-arid Tropics, Hyderadbad, India.
Rooney, L.W. and Pflugfelder, R.L. (1986.) Factors affecting starch digestibility with special emphasis on sorghum and corn, Ani. Sci. 63:1607-1623.
Taji, K., Kumai, S., Fukumi, R., Horiuchi, E., Kurihara S. and Tsukazawa, K. (1987). Digestibility and excretion rate of undigested starch in ripe rough rice with sheep and beef cattle. Nutrition Abstracts and Review. 57:411.
Thivend, P. and Journet, M. (1970) Utilization of maize starch by ruminants. Ann. Biol. Bioch. Brit. Phys. 10:323-329.
Thorne, M.J., Thompson, L.U. and Jenkins, D.J.A. (1983.) Factors affecting starch digestibility and the glycemic response with special raference to legumes. Amer. J. Clin. Nutr. 38:481-488.
Tucker, R.E., Mitchell, Jr. G.E. and Little, C.O.(1968.) Ruminal and post ruminal starch digestion in sheep J. Agr.Sci., Camb. 27:824-34.
Turgeon, O.A., Brink, Jr.,D.R. and Britton, R.A. (1983.) Corn particle size mixtures, roughage level and starch utilization in finishing steer diets. J. Anim. Sci. 57: 739-749.
Waldo, D.R. Keys, J.F. and Gordon, C.H. (1971.) Corn starch digestion in the bovine. J. Anim. Sci. 33:304-313.
Walker, G.J. and Hope, Pamela, M. (1963.) The action of some x-amylases on starch granules. Biochem. J. 86:452-469.
Wheeler, W.E. and Noller, C.H. (1977.) Gastrointestional tract and starch in feces of ruminants. J. Anim. Sci. 44:131-146.