ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตของถั่วลิสง และข้าวโพดเมื่อปลูกพืชทั้งสองร่วมกัน

Main Article Content

เฉลิมพล แชมเพชร
สุนทร บูรณะวิริยะกุลม
ทรงเชาว์ อินสมพันธ์
ศุภศักดิ์ ลิมปิติ

บทคัดย่อ

ได้มีการพยายามนําพืชตระกูลถั่ว (เมล็ด) เข้าร่วมในระบบการปลูกพืชที่มีพวกธัญญพืช เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด และข้าวสาลี เป็นพืชหลักในรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น ปลูกเป็นพืชแซม พืชเหลื่อมฤดู หรือพืชหมุนเวียน ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ดิน และรักษาหรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน แต่การที่ นําพืชตระกูลถั่วชนิดใดชนิดหนึ่งเข้าไปปลูกร่วมกับพืชหลัก โดยไม่มีผลกระทบต่อพืชหลักมากนั้น จะต้องมีการจัด การเรื่องปัจจัยการผลิตบางอย่างให้เหมาะสมโดยเฉพาะในปัจจัยเรื่องการบังแสง และการแก่งแย่งแร่ธาตุอาหาร ในการทดลองรายงานวิจัยนี้เป็นการพยายามใช้ถั่วลิสงปลูกลงในระหว่างแถวข้าวโพด โดยมีการจัดการเรื่องของ ระยะของแถวข้าวโพดเพื่อให้ได้ผลผลิตของพืชทั้งสองที่เหมาะสม


การศึกษาทดลองกระทำที่สถานีโครงการหลวงห้วยโป่ง จังหวัดเชียงราย สูงจากระดับน้ำทะเล 800 เมตร ในระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2529 วางแผนการทดลองแบบ 3 X 2 Factorial โดยมีการจัด ระยะปลูกข้าวโพดเป็นแบบ Spatial arrangement ดังนี้คือ กำหนดให้มีระยะระหว่างแถวข้าวโพด 40, 60 และ 80 ซม. และระยะห่างของแถวข้าวโพดที่มีถั่วลิสงปลูกแซม 80 และ 100 ซม. ทั้งนี้ใช้ระยะปลูกของข้าวโพด เท่ากับ 40 x 25, 60 x 25 ซม. และ 80 x 25 ซม. ส่วนถั่วลิสงปลูกเป็น 2 แถว ใช้ระยะระหว่างแถว และต้นเท่ากับ 20 และ 15 ซม. ตามลำดับ


จากผลการทดลองสรุปได้ว่า ระยะระหว่างแถวของข้าวโพดที่ปลูกถั่วลิสงมีผลกระทบต่อผลผลิตของ ถั่วลิสง และของข้าวโพดเอง กล่าวคือผลผลิตของถั่วลิสงลดลง ในขณะที่ผลผลิตของข้าวโพดเพิ่มขึ้นเมื่อระยะ ระหว่างแถวของข้าวโพดลดลง เมื่อระยะการปลูกของข้าวโพดลดลงทำให้มีการบังแสงมากขึ้น จากการวัดแสงPAR ที่ส่องผ่านถึงต้นถั่ว เมื่อข้าวโพดโตเต็มที่พบว่า ที่ระยะระหว่างแถวข้าวโพด 40 ซม. มีแสงผ่านได้เพียง 29% เปรียบเทียบกับ 41% สำหรับระยะข้าวโพด 80 ซม. การบังแสงนี้มีผลกระทบต่อขนาดของเมล็ดถั่วมาก กว่าองค์ประกอบของผลผลิตอื่น จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าประโยชน์การใช้พื้นที่ดิน (Land equivalent ratio, LER) พบว่า การปลูกพืชแซมจะได้ประโยชน์สูงกว่าการปลูกพืชใดพืชหนึ่งตามลำพัง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิสุทธิพิทักษ์กุล, ทรงเกียรติ, วิไลรัตน์, ปริญญา และ อึ้งวิเชียร, อิทธิฤทธิ์ (2530). การเปรียบเทียบผลผลิต และรายได้ของถั่วลิสง ถั่วเหลือง และข้าวโพด ในระบบการปลูกพืชเดี่ยว และพืชร่วมที่จังหวัดเพชรบูรณ์, รายงานการประชุมประจําปีครั้งที่ 1 โครงการ พัฒนา พืชน้ํามัน ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 17 - 19 สิงหาคม 2530.
Buranaviriyakul, S., Sampet, C., Insomphun, S., and Limpiti, S., (1987). Relay and intercropping of ligumes and cereals for highland. Annual Report to USDA/ARS, Fac. of Agr. CMU.
Murata, Y. and Matsushima, S, (1975). In Crop Physiology. ed L. Evans London: Cambridge University Press.
Tiyawalee, D., Pattare, V., Sanmaneechai, M., Wivatvongvana, P., and Hengsawad, V., (1978). Legumes for highland. Final Report to USDA/ARS. Fac. of Agriculture, Chiang Mai Univ.
Willey, R.W. (1979). Intercropping - its importance and its research needs, part I. Competition and yield advantages. Filed Crop Abstracts 32:1 - 10.