การหาค่าพลังงานใช้ประโยชน์ของข้าวเปลือกบด และ ถั่วมะแฮะบด โดยวิธีการแทนที่ส่วนของอาหารเปรียบเทียบและการใช้เป็นอาหารเดียวในสัตว์ปีก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเพื่อให้ทราบค่าพลังงานใช้ประโยชน์ของข้าวเปลือกบดและถั่วมะแฮะบอ โดยการแทนที่ส่วนของอาหารเปรียบเทียบที่ระดับ 0, 15, 30 และ 45% ด้วยแผนการทดลอง แบบ 4x4 Latin square เลี้ยงไก่จำนวน 4 ตัว (การทดลองข้าวเปลือกใช้ไก่ไข่ ส่วนถั่วมะแฮะ ใช้ไก่เนื้อ) ไก่แต่ละตัวได้รับอาหารสูตรละ 9 วัน ใน 5 วันแรกของการทดลองเป็นระยะปรับตัวให้เคยชินกับอาหารทดลอง และขับถ่ายอาหารที่เคยได้รับสูตรอื่นให้ออกจากร่างกายหมด สมบูรณ์ วันที่ 6-9 เป็นระยะเวลาเก็บข้อมูลของการทดลอง โดยบันทึกปริมาณอาหารที่กินและมูลที่ถ่ายออกมาทุกวัน เก็บรวบรวมแล้วนำไปอบให้แห้ง วิเคราะห์ค่าพลังงานต่อไป จากนั้นทำการเปรียบเทียบค่าที่ได้จากวิธีดังกล่าวกับวิธี ให้ข้าวเปลือกบด หรือถั่วมะแฮะบดเพียงชนิดเดียว แก่ไก่ชุดเดิมต่อไปอีก 9 วัน ทำการเก็บข้อมูลเช่นเดียวกับวิธีแรก ผลปรากฏว่าพลังงานใช้ ประโยชน์ของสูตรอาหารมีค่าลดลงตามระดับการเพิ่มวัตถุดิบดังกล่าวในอาหารเปรียบเทียบ ซึ่งข้าวเปลือกบด และถั่วมะแฮะบดมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์เท่ากับ 8.779 กับ 10.593 และ 7.805 กับ 5.725 กิโลจูล/ กรัม จากวิธีการแทนที่ส่วนของอาหารเปรียบเทียบและวิธีการให้วัตถุดิบทดสอบเพียงชนิดเดียวแก่ไก่ทดลอง ตามลำดับ และเนื่องจากในการทดลองพบค่า Associative effect ของข้าวเปลือกบดเป็นลบและถั่วมะแฮะเป็นบวก จึงสรุปว่าวิธี Regression method เหมาะสมในการใช้หาค่าพลังงานใช้ประโยชน์ของวัตถุดิบทั้งสองมากกว่าวิธีให้กินข้าวเปลือก หรือถั่วมะ แฮะแต่เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดีการใช้วัตถุดิบดังกล่าวแทนที่สูตรอาหารที่ระดับ 40% ก็นับว่าใช้ได้เพราะได้ค่าใกล้เคียงกับวิธีแรกมาก
Article Details
References
Armsby, H.P. (1917). The nutrition of farm animals. In P.J. Van Soest. (1982). Nutrition ecology of the ruminant, Oregon: O& B Books. Inc.
Campbell, G.L., Campbell, L.D. and Blair, R. (1983). Calculation of metabolizable energy for ingredients incorporated at low levels into a reference diet. Poultry Sci. 62: 705-707.
Farrell, DJ. (1978), Rapid determination of metabolizable energy of feeds using cockerels. Br. Poultry Sci. 19:303-308.
Jambunathan, R. and Singh, U. (1980). Grain quality of pigeon pea. In Proceeding internation workshop on pigeon peas. ICRISAT, Patancheru, India. Vol. 1, pp 351-356.
McIntosh, J.I., Slinger, S.J. Sibbald, I.R. and Ashton, G.C. (1962). Factors affecting the metabolizable energy and grit feeding on the availability of the energy of wheat, corn, oats and barley. 8. A study on the effect of die tary balance. Poultry Sci. 41: 445–456.
Miller, W.S. (1974). In Energy requirements of poultry, p. 91. Eds. T.R. Morris and B.M. Freeman. Edinburgh: British Poultry Science,
Potter, L.M., Matterson, L.D. Arnold, A.W.,Pudelkiewicz, W.J. and Singsen, E.P. (1960). Studies in evaluating energy content of feeds for the chick. I. The evaluation of the metabolizable energy and productive energy of alpha cellulose. Poultry Sci. 39:1166-1178.
Pryor, W.J. and Conner, J.K. (1966). In Recent advances in animal nutrition-1979 (Studies in the agricultural and food sciences) pp 38-39. Eds. W. Haresign and D. Lewis. London: Butterworths.
Sibbald, I.R., Summers, J.D, and Slinger, S.J. (1960). Factors affecting the meta bolizable energy centent of poultry feeds. Poultry Sci. 39 : 544-556.
Sibbald, I.R. (1975). The effect of level of feed intake on metabolizable energy values measured with adult roosters. Poultry Sci. 54:1990-1997.
Sibbald, I.R. (1979). Metabolizable energy evaluation of poultry diets. In W. Haresign and D. Lewis. Recent advances in animal nutrition. (1979). (Studies in the agricultural and food sciences) London. Butterworths.
Vistipanich, T., Batterham, E.S. and Norton, B.W. (1985). Nutritional value of chickpea (Cicer arietinum) and pigeon pea (Cajanus cajan) meals for growing pigs and rats. I. Energy content and protein quality. Aust. J. Agric. Res. 36: 327-335.