สมรรถภาพในการผลิตของแกะที่ได้รับฟางข้าวหมักยูเรียหรือฟางข้าว ราดกากน้ำตาล-ยูเรียเสริมและไม่เสริมใบกระถินสดเทียบกับหญ้าสด
Main Article Content
บทคัดย่อ
แกะเพศผู้ นน. เฉลี่ย 10.8 1.8 กก. จํานวน 25 ตัวได้ถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มให้ได้รับอาหารต่างกัน ดังนี้ : กลุ่ม 1 กินหญ้าสด(เต็มที่), กลุ่มที่ 2 กินฟางข้าวหมักยูเรีย 4% (เต็มที่), กลุ่ม 3 กินฟางข้าวราดยูเรีย 2% + กากน้ำตาล 10% (เต็มที่), กลุ่ม 4 เหมือน กลุ่ม 2 เสริมด้วยกระถินสด 1 กก./ตัว/ วัน, กลุ่ม 5 เหมือนกลุ่ม 3 เสริมกระถินสด 1 กก./ตัว/วัน ใช้เวลาทดลอง 69 วัน ในระหว่างนั้นได้ ศึกษาการย่อยได้และการสะสมโปรตีนในสัตว์ทดลองทั้ง 5 กลุ่มด้วยหญ้าสดมีวัตถุแห้ง 23%, โปรตีน 15% และผนังเซลล์ (NDF) 66% ขณะที่ใบกระถินสด มีค่าดังกล่าว = 28, 24 และ 38% ตามลำดับ ปริมาณโภชนะในฟางข้างหมักยูเรียและฟางข้าวราดยูเรีย-กากน้ำตาล อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือ มีวัตถุแห้ง 50%, โปรตีน 9% และ NDF 72% แกะที่ได้รับหญ้าขนสด (กลุ่ม 1) โตดีที่สุด (86 กรัม/วัน , P < 0.05) เนื่องมาจากได้ รับโปรตีนมากกว่า มีการย่อยได้ดีกว่า และมีการสะสมโปรตีนในร่างกายสูงกว่า ปริมาณวัตถุแห้งที่กินได้/ วัน = 776.4 กรัม หรือ 3.4% ของ นน.ตัว หรือ -74.2 g/kg.W0.75) แกะที่ได้รับฟางข้าวหมักและฟางข้าวราดมีสมรรถภาพในการผลิตไม่ต่างกันทั้งพวกที่เสริมและไม่เสริมกระถิน ปริมาณวัตถุแห้งที่กินได้ของทั้ง 2 กลุ่ม (กลุ่มที่ 2 และ 3) นับว่าอยู่ในเกณฑ์สูงคือ 688 และ 774 กรัม/ วัน (หรือ 3.3 และ 3.7% นน.ตัว หรือ = 70.1 และ 78.6 กรัม/ กก./กก. นน.ตัว 0.75) ตามลําดับซึ่งแสดงถึงความน่ากินของฟางข้าวทั้ง 2 ชนิด อย่างไรก็ดีการที่การย่อยได้ของโภชนะและการสะสมโปรตีนอยู่ในระดับปานกลางคือ 10.6 กรัม/ วัน และสัตว์มีการเพิ่มนน.ตัวเพียง 38 กรัม แสดงว่าทั้งฟางข้าวหมักและฟางข้าวราดสามารถให้โภชนะเกินระดับดํารงชีพเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเสริมกระถิ่นสดให้แกะที่ได้รับฟางข้าวทั้งสองวันละ 1 กก. (คิดเป็นวัตถุแห้ง 285 กรัม หรือ 1.3% นน. ตัว หรือ 35-40% ของปริมาณวัตถุแห้งที่กินได้ทั้งหมด) แกะจะโตขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ แม้ว่ากระถินจะทําให้สัตว์กินฟางได้ลดลงบ้าง (Substitution effect) แต่ปริมาณอาหารทั้งหมดที่กินได้ก็จะเพิ่มขึ้น การเสริมกระถินสดในระดับดังกล่าวไม่ พบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นพิษ
Article Details
References
กาญจนพฤฒิพงษ์, จีระชัย, และชีวะอิสระกุล, บุญล้อม. (2529), การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ ฟางข้าวหมักยูเรียกับฟางข้าวราดสารละลายยูเรีย-กากน้ําตาล เป็นอาหารหยาบสําหรับ วัวนมรุ่นเพศผู้, ประมวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 24 ณ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 27-29 ม. ค 2529.
ชีวะอิสระกุล, บุญล้อม., และ โพธิกานนท์, นิรันดร. (2527), สมรรถภาพในการผลิตของวัวรุ่น เพศผู้ได้รับฟางธรรมดาเสริมด้วยกระถิน เปรียบเทียบกับฟางปรุงแต่งด้วยยูเรียเป็นอาหารฐาน. ประชุมวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 22 ณ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพพฯ 30 ม. ค - 3 ก. พ 2527.
ชีวะอิสระกุล, บุญเสริม. และชีวะอิสระกุล, บุญล้อม .(2529), สมรรถภาพในการผลิตของวัวรุ่น ที่ได้รับฟางข้าวเสริมกระถินและเปรียบเทียบกับฟางปรุงแต่งและร. วารสารเกษตร , 2(1): 1 - 16.
วรรณพัฒน์, เมธา., ประเสริฐศักดิ์ , สมโภช., จันทร์ไทย, ศักดิ์สิทธิ์; และศิวะประภากร, อภิชัย(2525). ผลการใช้ฟางหมักยูเรียและมันเส้นที่มีต่อปริมาณอาหารที่กินและการ เปลี่ยนแปลง นน.ของช่วงหน้าแล้ง. ประชุมวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 20 ณ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 1-5 ก.พ 2525.
พรหมา, สมคิด. (2527), การศึกษาการเลี้ยงโคที่กําลังให้นมด้วยฟางข้าวซึ่งได้รับการปรุงแต่งด้วย คุณภาพแล้วเป็นอาหารหลัก. ประชุมวิชาการ สาขาสัตว์ ครั้งที่ 22 ณ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 30 ม. ค - 3 ก. พ 2527.
พรหมา, สมคิด. รัตนวณิช, อภิชาติ., ตุ้ยคําภีร์ , สมเพชร., วิทยากร, นิพนธ์. และสุวภาพ, อรวรรณ. (2525). การทดลองใช้ฟางข้าวซึ่งได้รับการปรุงแต่งคุณภาพแล้วเป็นอาหาร หยาบหลักสําหรับเลี้ยงโคนมรุ่น. ประชุมวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 20 ณ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 1-5 ก.พ 2525.
AGRICULTURAL RESEARCH COUNCIL. (1980). The Nutrient Requirements of Ruminant Livestock. (Commonwelath Agricultural Bureaux, Farnham Royal, England).
BAMUALIM, A. (1985). Effect of leucaena fed as a supplement to ruminants on low quality roughage diets. In "Ruminant Feeding Systems Utilizing Fibrous Agricultural Residues - 1985", p. 107-112, ed R.M. Dixon (School of Agriculture and Forestry, University of Melbourne, Australia).
DEVENDRA, C. (1982). The nutritive value of Leucaena leucocephala cv. Peru in balance growth studies with goats and sheep. Mardi Res. Bull. 10,2: 138 -150.
EGAN, A.R. (1985). Principles of supplementation of poor quality roughage with nitrogen. In
"Ruminant Feeding Systems Utilizing Agricultural Residues - 1985" p. 49-58, ed R. M. Dixon (School of Agriculture and Forestry, University of Melbourne. Australia).
GOERING, H.K. and VAN SOEST, P.J.(1970). Forage Fibre Analyses. U.S. Dept. Agr. Hand book No. 379.
JONES, R.J. (1981). Does ruminal metabolism of mimosine explain the absence of Leucaena toxicity in Hawaii? Aust. Vet. j. 57:55-56.
MORAN, J.B., SATOTO, K.B.and DAWSON, J.E. (1983). The utilization of rice straw fed to zebu cattle and swamp buffalo as influenced by alkali treatment and Leucaena supplementation. Australian Journal of Agricultural Research. 34 : 73-84.
NAUMANN, K. and BASSLER, R. (1976). Methodenbuch band III. Die Chemische Unter suchung von Futter mitteln. Verlag J. Neumann-Neudamm. Melsungen, Federal Republic of Germany.
PEREZ, C.B.(1976). Fattening cattle on farm by-products. ASPAC Food and Rertilizer Technology Centre. Extension Bulletin 83: 1-11.
SAADULAH, M., HAQUE, M. and DOLBERG, F. (1983). Effect of chemical treatment of rice straw supplemented with concentrate on feed intake and weight gain in growing calves. In 'The Utilization of Fibrous Agricultural Residues", pp. 129-139, ed G.R. Pearce (Australian Goverment Publishing Service, Canberra, Australia).
TER MEULEN, U. and EL-HARITH, E.A. (1985). Mimosine - a factor limiting the use of Leucaena leucocephala as an animal feed. Der Tropenlandwirt. 86: 109-127.
WAHYUNI, S., YALIANTI, E.S. KOMARA, W. YATES, N.G. OBST, J.M. and LOWRY, J.B. (1982).The performance of Ongole cattle offered either grass, sun-dried Leucaena Leucocephala or varying proprtions of each. Tropi Animal Production. 7: 275-282.
WONG, C.C. and DEVENDRA, C. (1983). Research on leucaena for-age production in Malaysia. In "Leucaena Research in the Asian-Pacific Region", p. 55. Proceedings of a Workshop held in Singapore, November 1982. IDRC, Ottawa.
WONGSRIKEAO, W. and WANAPAT, M. (1985). A comparison of untreated or urea treated rice straw when supplemented with fresh leucaena for buffaloes. In "Ruminant Feeding Systems Utilizing Fibrous Agricultural Residues-1985", p. 49 58, ed R.M. Dixon (School of Agriculture and Forestry, University of Melbourne, Australia).