ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของดอกและการประเมินพันธุกรรมของดาวเรืองอเมริกันสายพันธุ์พ่อแม่โดยเทคนิคอาร์เอพีดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ดาวเรืองมีชื่อสามัญว่า marigold ชื่อวิทยาศาสตร์ Tagetes erecta L. อยู่ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) นิยมใช้เป็น ไม้ดอกไม้ประดับ ตัดดอกทำเป็นมาลัยงานทางศาสนา หรืองานมงคลต่าง ๆ สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ อย่างไรก็ตามข้อมูลงานวิจัยและการพัฒนาพันธุ์ดาวเรืองในประเทศไทยมีค่อนข้างจำกัด จึงได้นำสายพันธุ์พ่อแม่ดาวเรือง 12 สายพันธุ์ มาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของดอก ตามเกณฑ์ตรวจสอบลักษณะทางพันธุ์พืชของ Supa (1991) โดยศึกษา 2 ลักษณะ คือ ลักษณะสีดอก ได้แก่ สีเหลือง และสีเหลืองทอง และลักษณะดอก ได้แก่ ดอกซ้อน ดอกชั้นเดียว และดอกที่ไม่มีกลีบ ศึกษาพันธุกรรมโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี ใช้ไพรเมอร์จำนวน 20 ไพรเมอร์ พบว่า มี 6 ไพรเมอร์ สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้และให้แถบที่มีความแตกต่างกัน ทำการคำนวณดัชนีความเหมือนด้วยโปรแกรม NTSYS (เวอร์ชั่น 2.2) โดยวิธีจัดกลุ่ม UPGMA พบว่า ข้อมูลการปรากฏแถบดีเอ็นเอของไพรเมอร์จำนวน 3 ไพรเมอร์ ได้แก่ OPA - 02, OPD - 11 และ OPD - 19 เมื่อคำนวณดัชนีความเหมือน อยู่ที่ 0.41 ถึง 1.00 และสามารถแยกกลุ่มสายพันธุ์แม่เกสรเพศผู้เป็นหมันออกจากสายพันธุ์พ่อได้ และเมื่อนำข้อมูลการปรากฏแถบของ 6 ไพรเมอร์ OPA - 02, OPA - 04, OPD - 05, OPD - 07, OPD - 011 และ OPD - 19 มาวิเคราะห์แผนภูมิความสัมพันธ์ด้วยวิธีการจัดกลุ่มแบบ UPGMA พบว่า ดาวเรืองสายพันธุ์พ่อแม่ทั้ง 12 สายพันธุ์ มีค่าดัชนีความเหมือนที่ 0.42 ถึง 0.82 และสามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ดอกซ้อน ดอกชั้นเดียว และไม่มีกลีบ สอดคล้องกับการแบ่งกลุ่มลักษณะทางสัณฐานวิทยา
Article Details
References
Chomvisarutkul, S. and N. Kuanprasert. 2005. Inheritance of marigold flower characteristics. Journal of Agriculture 21(2): 149-155. (in Thai)
Doyle, J.J. and J.L. Doyle. 1987. A rapid DNA isolation procedure from small quantities of fresh leaf tissue. Phytochemical Bulletin 19(1): 11-15.
East West Seed. 2017. Accelerating imports of marigold seeds in Thailand (Online). Available: http://www.eastwestseed.com/news/accelerating-import-of marigold-seed-in-Thailand/ (July 3, 2017).
Gaurav, A.K. and R. Agnihotri. 2017. Strategies for the development of unique flower forms in ornamental crops: A review. Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry 6(6): 2474-2478.
Modi, P., D. Jain, S. Kachhwaha and S.L. Kothari. 2013. Analysis of genetic among Tagetes patula L. cultivars based on RAPD markers. Indian Journal of Horticulture 70(4): 549-554.
Nantaphoom, S., S. Peerapaskorn and P. Pooprompan. 2020. Phenotyping and genotyping analysis of inbred lines In American marigold (Tagetes erecta L.). Rajabhat Agriculture Journal 19(2): 31-37. (in Thai)
Naz, S., I. Shehzadi, K. Shahzadi and S. Ilyas. 2015. Assessment of genetic variability in different chrysanthemum varieties of Pakistan using RAPD markers. The Journal of Animal and Plant Sciences 25(2): 554-560.
Phophan, P. and P. Pooprompan. 2020. Inheritance and investigation of DNA marker associated with gene controlling male sterile in American marigold (Tagetes erecta L.). pp. 80-86. In: Proceedings of the 2nd National Conference on Science, Technology and Innovation. Loei Rajabhat University, Loei. (in Thai)
Pornsuriya, P., S. Boonsrinukul and P. Pornsuriya. 2015. Genetic divergence and correlations with heterosis of inter-varietal hybrids in waxy corn. Research Journal 8(1): 17-22. (in Thai)
Shahzadi, I., R. Ahmad, U. Waheed and M.M. Shah. 2016. Genetic diversity analysis of Tagetes species using PCR based molecular markers. Pakistan Journal of Botany 48(4): 1593-1599.
Supa, P.1991. Evaluation Characteristics and Population of Marigolds in Northern Thailand. M.S. Thesis. Chiang Mai University, Chiang Mai. 134 p. (in Thai)
Tanya, R. 2019. Population Genetics for Breeding. Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus, Nakhon Pathom. 186 p. (in Thai)
Taywiya, P., W. Bundithya and N. Potapohn. 2008. Analysis of the genetic relationship of genus Phalaenopsis by RAPD technique. Acta Horticulturae 788: 39-46.
Zhang, P., L. Zeng, Y.X. Su, X.W. Gong and X.S. Wang. 2011. Karyotype studies on Tagetes erecta L. and Tagetes patula L. African Journal of Biotechnology 10(72): 16138-16144.