สมรรถภาพในการผลิตของวัวรุ่นที่ได้รับฟางข้าวเสริมกระดินและรำเปรียบเทียบกับฟางปรุงแต่งและรำ

Main Article Content

บุญเสริม ชีวะอิสระกูล
บุญล้อม ชีวะอิสระกูล

บทคัดย่อ

วัวร่นลูกผสมสายเลือดยาว - ดำ อายุประมาณ 7 เดือน น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ยประมาณ 105 กก. จำนวน 16 ตัว ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มแรกได้รับฟางปรุงแต่งด้วยยูเรีย 5% อย่างเต็มที่ กลุ่มหลังได้รับฟางธรรมดาเต็มที่และเสริมด้วยใบกระถินแห้ง 0.5 กก. ต่อตัวต่อวัน วัวทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับรำละเอียดด้วยวันละ 1 กก. ต่อตัว คุณค่าทางอาหารของวัตถุดิบทั้ง 4 ชนิด (ฟางธรรมดา ฟางปรุงแต่ง ใบกระถินแห้ง รำละเอียด) คือโปรตีนรวม 4.3, 5.3, 28.6 และ 13.3% พลังงานย่อยได้ 8.5, 9.6, 10.8 และ 12.7 เมกะจูลล์/กก.วัตถุแห้ง และการย่อยได้ของอินทรีย์วัตถุ 51.9, 58.3, 58.8 และ 64.8% ตามลำดับ


เมื่อเปรียบเทียบกัน วัวกลุ่มที่ได้รับฟางธรรมดาเสริมกระถิน กินอาหารได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับฟางปรุงแต่งทุกด้าน คือวัตถุแห้ง (2.8 กับ 2.4 กก./วัน) อินทรีย์วัตถุ (2.3 กับ 2.0 กก./วัน) โปรตีนรวม (310 กับ 198 ก./วัน) และอินทรีย์วัตถุที่บ่อยได้ (1.4 กับ 1.1 กก./วัน) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีอัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีกว่า (P < 0.05) ด้วย ผลจากการทดลองนี้สรุปได้ว่า การใช้ฟางธรรมดาเสริมด้วยกระถินและรำละเอียด (0.5 และ 1.0 กก./ตัว/วัน) จะทำให้วัวรุ่นมีสมรรถภาพในการผลิตดีกว่า และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าพวกที่ได้รับฟางปรุงแต่งด้วยยูเรียและรำในอัตราเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชีวะอิสระกูล, บุญล้อม และ โพธิกานนท์, นิรันดร. (2527). สมรรถภาพในการผลิตของวัวรุ่นเพศผู้ที่ได้รับพางธรรมดาเสริมด้วยกระถิน เปรียบเทียบกับฟางปรุงแต่งด้วยยูเรียเป็นอาหารฐาน. รายงานการประชุมวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 22. ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ .

ถวิลประวัด, สารกิจ; เทียบศร, สนอง, คีน, ที. เบนจามิน และ รัตนติลก ณ ภูเก็ต สุนทราภรณ์. (2514 ). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้พืชอาหารสัตว์โปรตีนสูงผสมฟางข้าวในการเลี้ยงกระบือ. รายงานประจำปี 2514.ศูนย์เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ .

พรหมมา สมคิด; รัตนวณิช อภิชาติ; ตุ้ยคำภีร์ สมเพชร; วิทยากร นิพนธ์ และ สุวภาพ อรวรรณ. (2525) .การทดลองใช้ฟางข้าวยิ่งได้รับการปรุงแต่งคุณภาพแล้ว เป็นอาหารหยาบหลักสำหรับเลี้ยงโคนมรุ่น. รายงานการประชุมวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 20. ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

วงศ์ศรีแก้ว วีระศักดิ์ และ วรรณพัฒน์, เมธา.(2526). ผลการใช้ฟางข้าวหมักด้วยยูเรียต่อน้ำหนักสัมประสิทธิ์การย่อยไต้และค่าโลหิตวิทยาของกระบือ. แก่นเกษตร 11(5) : 233-239.

วรรณพัฒน์, เมธา; ประเสริฐสุข, สมโภชน์; จันทร์ไทย, ศักดิ์สิทธิ์ และ คิวประภากร อภิชัย. (2525). การใช้ฟางหมักยูเรียและมันเส้น เพื่อเลี้ยงโคในช่วงหน้าแล้ง รายงานประชุมทางวิชาการ สาขาสัตวศาสตร์ ครั้งที่ 20. ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ กรุงเทพฯ.

ศิริ, อนุชา และ เนียมทรัพย์, พิสทธิ์. ( 2526 ). การศึกษาระดับของผักจามสุรี เป็นอาหารเสริมของฟางข้าวในการเลี้ยงโคช่วงฤดูแล้ง .วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 1(1) : 10-17.

ศูนย์ส่งเสริมการเลี้ยงโคนม. (2526 ). การปรุงแต่งคุณภาพฟางข้าวเพื่อเลี้ยงโคนม. เอกสารเผยแพร่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ กรมปศุสัตว์.

Cheva-Isarakul, B. (1982). The composition, intake and digestibility of legume tree leaves in North Thailand. In "The Utilization of Fibrous Agricultural Residues as Animal Feeds", pp 152-8, (ED. P.T. Doyle). School of Agriculture and Forestry, University of Melbourne, Parkville, Victoria.

Goering, H.K. and Van Soest, P.J. (1970). Forage Fibre Analyses. U.S. Dept. Agr. Handbook No. 379.

Menke. K.H.; Raab, L.; Salewski, A.; Steingass, H.; Fritz, D. and Schenider, W. (1979). The estimation of the digestibility and metabolizable energy content of ruminant feeding stuffs from the gas production when they are incubated with rumen liquor in vitro. J. Agric. Sci. Camb. 93 : 217 - 222.

Naumann, K. and Bassler, R. (1976). Methodenbuch Band III. Die Chemische Untersuchung Von Futtermitteln. Verlag J. Neumann-Neudamm. Melsungen, Federal Republic of Germany.

Perdox, H.B.; Thamoderam, M.; Blom, J.J.; van den Born, H. and van Veluw, C. (1982). Practical experiments with urea ensiled straw in Sri Lanka. Paper presented at the third Annual Seminar on "Maximum Livestock Production from Minimum Land", Joydebpur, Bangladesh, Feb. 15 - 18, 1982.

Promma, S.; Tuikampee, S.; Himarat, V. and Vidhyakorn, N. (1984). Production Responses of lactating cows fed urea-treated rice straw compared to untreated rice straw supplemented with leucaena leaves. Paper presented at "The International Workshop on Relevance of Crop-Residues Utilization as Animal Feeds in Developing Countries" at Khon Kaen University, Thailand.

Saadullah, M.; Haque, M. and Dolberg, F. (1983). Effect of Chemical Treatment of rice straw supplemented with concentrate on feed intake and weight gain in growing calves. In "The Utilization of Fibrous Agricultural Residues", PP 129 - 139. (Ed. G.R. Pearce). Australian Government Publishing Service, Canberra, Australia.

Sampet, C. and Pattaro, B. (1979). Comparative productivity of four strains of Leucaena leucocephala under different cutting regimes. Thai J. Agric. Sci. 12:291 - 300.

Snedecor, G.w. and Cochran, W.G. (1973). Statistical Methods. The Iowa State University Press, Ames, Iowa, USA.