พารามิเตอร์ ทางพันธุกรรมสำหรับ ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในสุกรลาร์จไวท์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ข้อมูลจากฝูงสุกร ของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ถูกใช้สำหรับประมาณค่าอัตราพันธุกรรม (heritabilities) ของความสมบูรณ์พันธุ์หกลักษณะ คือ จำนวนลูกและน้ำหนักลูกเฉลี่ยต่อครอก เมื่อคลอดอายุสามสัปดาห์ และเมื่อหย่านม และเพื่อประมาณค่าสหสัมพันธ์พันธุกรรม (genetic correlations) และ สหสัมพันธ์ปรากฏ (phenotypic correlations) ระหว่างลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวตลอดจนทดสอบความแตกต่างระหว่างฤดูการคลอด ที่มีผลต่อความสมบูรณ์พันธุ์
ผลจากการวิเคราะห์พบว่าค่าประมาณอัตราพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ดังกล่าว ค่อนข้างต่ำ ยกเว้นจำนวนลูกต่อครอกเมื่ออายุสามสัปดาห์ ซึ่งสูงปานกลาง
ค่าประมาณสหสัมพันธ์พันธุกรรม ระหว่างลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าว มีแนวโน้มค่อนข้างสูง เพราะว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าประมาณเหล่านี้ ไม่อยู่ระหว่าง -1 ถึง +1 และได้วิจารณ์ไว้แล้ว ส่วนค่าประมาณสหสัมพันธ์ปรากฏระหว่างลักษณะต่าง ๆ นั้น ค่อนข้างต่ำ ยกเว้นสำหรับจำนวนลูกต่อครอกเมื่อคลอด กับจำนวนลูกต่อครอก เมื่ออายุสามสัปดาห์และเมื่อหย่านม และระหว่างจำนวนลูกต่อครอก เมื่ออายุสามสัปดาห์ กับจำนวนลูกต่อครอกเมื่อหย่านม ซึ่งค่อนข้างสูง
ค่าประมาณว่าเรียนซ์ และโควาเรียนซ์คอมโพเนนท์ (variance and covariance components) อันเนื่องจากพ่อพันธุ์ (boar) และคลาดเคลื่อนดื่ม (error) สำหรับลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวได้แสดงไว้ในรายงานนี้ด้วยแล้ว
ฤดูกาลคลอดมีผลทำให้น้ำหนักลูกเฉลี่ยต่อครอกเมื่ออายุสามสัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) สำหรับลักษณะอื่น ๆ ที่เหลือ ความแตกต่างอันเนื่องจากอิทธิพลของฤดูการคลอดไม่มีนัยสำคัญ (P < .05)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จันทร์สว่าง, สมชัย, 2514. การประมาณค่าดัชนีทางพันธุกรรมของลักษณะก่อนหย่านมในฝูงสุกรเลือดชิด. รายงานการประชุมทางวิชาการเกษตรศาสตร์และชีววิทยาครั้งที่ 20 (สาขาสัตว์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 77 (บทคัดย่อ).
ค้าเจริญ; สาโรช, พาชีรัตน์, สถาพร; ค้าเจริญ, เยาวมาลย์; พันสิทธิ์, ธีระพล; ธีรพันธุ์วัฒน์, สุวิทย์ และ ถูวพลไพโรจน์, ศิริลักษณ์, 2525. การศึกษาสภาพการผลิตสุกรในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานผลการวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริ, สุทัศน์; รัตนวราหะ, อภิชัย; บุญสุขใจ, สมจิตต์; ประเสริฐ, ปกรณ์, และ รัตนรถชาติ, สุวัฒน์, 2527. อิทธิพลของฤดูการผสมพันธุ์ ต่อสมรรถภาพในการสืบพันธุ์ของสุกรพันธุ์แท้ วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เล่มที่ 2. หน้า 8.
รัตนรณชาติ, สุวัฒน์. 2526. การประมาณค่าวาเรียนซ์ และโควาเรียนซ์คอมโพเนนท์ จากมิกซ์โมเดล. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร เล่มที่ 3. หน้า 229.
ภู่ประเสริฐ, ปกรณ์. 2525. รายงานการปฏิบัติงานเลี้ยงสุกรประจำปี. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่, แม่หยวก เชียงใหม่.
Freeman, A.E. 1979. Components of variance : Their history, use, and problems in animal breeding. Proc. of a Conf. in Honor of C.R. Henderson. Cornell University. Ithaca. New York, 43.
Henderson, C.R. 1953. Estimation of variance and covariance components. Biometrics 9 : 226.
Lasley, J.F. 1972. Genetics of Livestock Improvement (p. 283). Prentice-Hall. Inc. Englewood Cliffs, New Jersey.
Searle, S.R. 1961. Phenotypic genetic and environmental correlations. Biometrics 17 : 474.
Rattanaronchart, Suwat. 1982. Genetic and Genetic-Feeding Regimen Interaction Effects on
Lactation, Growth and Carcass Traits in Dairy Cattle. Ph.D. Thesis. University of Illinois, Urbana.