งานวิจัย นับว่ามีผลต่อการพัฒนาวงการเกษตรมาก ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยในสถาบันของภาคราชการหรือในภาคเอกชน ในภาคราชการมักจะวิจัยกัน ทั้งเพื่อหาความรู้ความเข้าใจ หรือทั้งเพื่อการพัฒนา ส่วนในภาคเอกชนมักจะเป็นงานวิจัย เพื่อที่จะเอาผลการวิจัยไปพัฒนากิจการของตนให้อยู่รอด เกษตรกรของเรามากรายที่ทำกิจการขนาดใหญ่และย่อมประสบผลสำเร็จ หรือได้ความรู้ใหม่ๆ จากการทคลองง่ายๆ ตามความคิดสมมุติฐาน ที่แม้แต่นักวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์เองก็ทึ่งในประสบการถที่ เกิดขึ้น ตัวอย่างผลงานวิจัยของเอกชนก็คือ การทำนาน้ำตม ชลประทานน้ำหยด การทำให้ผลไม้ พืชยืนต้นออกผลนอกฤดูกาล พันธุ์ผลไม้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นตามสวนต่างๆ ตลอดจนการ เกษตรแบบธรรมชาติ ความแตกต่างในการปรากฏผลงานก็คือ ในภาคเอกชนโดยเฉพาะเกษตรกรมักจะปรากฏผล เป็นรูปแบบ วิธีการที่เห็นได้จากไปเยี่ยมชม และมีนักวิชาการไปเขียนเผยแพร่ ไว้ให้ในหนังสือต่างๆ ส่วนนักวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ ก็อาศัยการ เสนอผลงานในรูปรายงานต่างๆ ที่แสดงวิธีการและผลการวิจัยเป็นเอกสาร แล้วท่านก็ทำงานวิจัยต่อเนื่องกันไปหรือจับงานวิจัยเรื่องใหม่ ผลงานของท่านจะปรากฏ เป็นหลักเป็นฐาน หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านก็ต่อ เมื่อท่านได้ส่งมาร่วมเผยแพร่ ตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ วารสารเกษตรฉบับปีที่ 2 เล่มที่ 2 นี้ ได้รับใช้วงการเกษตรให้ประจักษ์แก่ตาท่านแล้ว และฉบับต่อไปที่จะออกในเดือนมกราคม 2530 ก็จะร่วมมือกับท่านต่อไป

เผยแพร่แล้ว: 2023-02-15

การประเมินศักยภาพของที่ดินที่ใช้ปลูกกาแฟในภาคเหนือของประเทศไทย

ดูสิต มานะจุติ, บุญยวาทย์ ลำเพาพงศ์, จรูญ สุขเกษม

147-162

ผลของวิธีการกำจัดวัชพืชต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลืองที่ปลูกปลายฤดูฝน

ทรงเชาว์ อินสมพันธ์, วีระชัย ศรีวัฒนพงศ์, โกศล เม่งอำพัน

185-204