การขาดธาตุโบรอนในทานตะวันและถั่วเขียวที่เชียงใหม่

Main Article Content

เบญจวรรณ ฤกษ์เกษม

บทคัดย่อ

การทดลองนี้ รายงานผลการขาดธาตุโบรอนในทานตะวัน (Helianthus annuus L.) ปลูกตามด้วยถั่วเขียว (Vigna radiata (L.) Hilezek) ในดินสันทรายที่จังหวัดเชียงใหม่ ในฤดูหนาวโดยอาศัยชลประทาน เมื่อปลูกโดยไม่ได้ใส่โบรอน ทานตะวันมีอาการสังเกตได้ตั้งแต่อายุ 20 วัน ในใบโตเต็มที่ที่มีอายุน้อยที่สุดจะเริ่มออกสีเหมือนสนิม มีการสูญเสียคลอโรฟิล เนื้อเยื่อในพื้นที่ระหว่างใบ ริ่มแห้งตายเป็นจุดเล็ก ๆ ความรุนแรงของอาการเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปแผลที่ใบแห้งมีขนาดใหญ่ขึ้น อาจแห้งไปจนแทบทั้งใบ ที่ลำต้นส่วนบนมีรอยแผลช้ำเป็นทาง มีรอยขาดตามขวางตามส่วนลำต้นช่วงบน บางครั้งใบที่อยู่ถัดแผลขึ้นไปอาจเหี่ยว บ่งถึงการถูกตัดขาดของท่อน้ำ รอยขาดตามขวางนี้ อาจจะรุนแรงจนส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือขึ้นไปขาดหลุดออกไป ซึ่งหมายถึงการสูญเสียจานดอก และโอกาสที่จะได้ผลผลิตเมล็ดอย่างสิ้นเชิงทานตะวันที่ขาดโปรอนในการทดลองนี้ มีผลผลิตเมล็ดอยู่ในช่วงตั้งแต่ ไม่ได้ผลผลิตเลยจนถึง 119 กก. /ไร่ การใส่ไปรอนเมื่อเริ่มสังเกตเห็นอาการในตอนแรกใบเริ่มออกสีสนิม สามารถป้องกันมิให้อาการลุกลามถึงขั้นรุนแรงได้ การให้โบรอนทางไปโดยพ่นสารละลาย บอแร็ก หรือ กรดบอริก ที่ความเข้มข้น 0.05 - 0.10% สามารถรักษาอาการขาดโบรอนในระยะแรกได้ แต่ต้องพ่นซ้ำทุก 5-7 วัน การให้ปุ๋ยโบแร็ก 1.1 กก. /ไร่ ลงในดินในช่วงที่ใบออกสีสนิม ทำให้ผลผลิตเมล็ดทานตะวันเพิ่มเป็น 478 กก. /ไร่ โดยอาการใบไหม้จะปรากฏบ้างในปลายฤดู ผลผลิตเมล็ดสูงถึง 685 กก. /ไร่ โดยปราศจากอาการที่ใบตลอดฤดูได้จากการใส่ปุ๋ยโบแร็กในอัตรา 1.6 กก. /ไร่ การให้ปุ๋ยโบแร็กในอัตรา 1.6 กก. /ไร่ นี้ มีผลตกค้างถึงถั่วเขียวที่ปลูกในฤดูถัดไป โดยถั่วเขียวที่ปลูกตามทานตะวันที่ไม่ได้รับปุ๋ยโบรอน จะมีอาการเหลืองตามขอบใบ ซึ่งอาจแห้งไปในที่สุดต้นเตี้ย ใบและก้านใบเปราะและหักง่าย มีการติดผักและติดเมล็ดน้อย ถั่วเขียวที่ปลูกตามทานตะวันที่ได้รับโบแร็ก 1.6 กก. /ไร่ ไม่แสดงอาการที่ใบเลย มีน้ำหนักแห้งและการติดฝักมากกว่า ทานตะวันลูกผสมจำนวน 20 พันธุ์ ที่ปลูกโดยมิได้ใส่โบรอนเลยต่าง แสดงการขาดโบรอนอย่างรุนแรงจนเก็บผลผลิตเมล็ดไม่ได้เลย โดยมีอาการคล้ายคลึงกับพันธุ์ hysun 31 ที่บรรยายไว้ข้างต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Blamey, F.P.C., Vermulen, W.J. and Chapman, J. (1984). Inheritance of boron status in sunflower. Crop Science 24 : 43 - 6.

FAO (1982). International Soil Survey. FAO Bulletin 48.

Hiranburana, N. and Chawachati, C. in press. Proceedings of the workshop on Food legume improvement for Asian farming systems.

Hobbs, P.R. (1974). Peanuts. In Multiple Cropping Project Annual Report for 1973 – 74. Chiangmai University.

Julsrigival, S. and Bunta, I. (1975). Effects of microelements and plant number per hill on the yield of peanuts (Arachis hypogaea. L.). In Multiple Cropping Project (1975). Agricultural Technical Report No. 1, for 1971 - 1975. Chiangmai University.

Netsaengtip, R., Rerkasem, B., Loneragan, J.F., and Bell, R.W. in press. A survey of boron deficiency in peanuts in the Chiang Mai Valley. Preceedings of a workshop on Food legume improvement for Asian farming systems.

Sektheera, A. and Hobbs, P.R. (1974). Sunflower. In Multiple Cropping Project : Annual Report for 1973 - 74. Chiangmai University.

Tiffin, L.0. (1972). Translocation of micronutrients in plants. In Mortvedt, J.J., Giordano, P.M. and Lindsay, W.L. Eds. Micronutrients in agriculture. Chapter 9, pp 199 - 229. Soil Science Society of America, Inc.