การศึกษาตารางชีวิตของหนอนม้วนใบถั่วเหลือง

Main Article Content

มนัส ทิตย์วรรณ

บทคัดย่อ

จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มประชากรหนอนม้วนในตัว เหลือง Lamprosema diemenalis Guen. จากระยะไข่ถึงตัวเต็มวัยพบว่า จากไข่จำนวน 1,000 ฟอง เจริญเป็นหนอนวัยที่ 1 - 5 จำนวน 850, 699, 600, 546 และ 193 ตามลำดับ หนอนวัยที่ 5 จำนวน 493 ตัว สามารถเข้าสู่ระยะดักแด้และพักออกเป็นตัวเต็มวัยได้ถึง 450 ตัว อัตราการตายของหนอนวัยต่าง ๆ ตั้งแต่ 1-5 ซึ่งแสดงโดยค่าของ K-values มีค่าเท่ากับ 0.084, 0.067, 0.01, 0.044 และ 0.040 ตามลำดับ และมีอัตราการตายรวมในชั่วอายุขัยของ L. diemenalis, K = 0.347


อัตราการขยายพันธุ์สุทธิ ซึ่งเป็นผลรวมของค่า Ix mx ในแต่ละอายุของวัยเจริญพันธุ์ของแมลง, R0 = 23.776 ต่ออายุขัย และมีอัตราเกิด rm = 0.0744 หรือเท่ากับ 1.0772 ต่อตัวต่อวัน จากการศึกษาองค์ประกอบของกลุ่มอายุของ L. diemenalis พบว่า แมลงชนิดนี้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในระยะตัวอ่อน โดยมีช่วงของวงจรชีวิตที่เป็นตัวเต็มวัย เพียง 10.9067 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในการทดลองนี้ค่าของ 1/ = 1.4520 และมีอัตราเกิดตามธรรมชาติ (b), อัตราตายตามธรรมชาติ (d) เท่ากับ 0.6634 และ 0.5890 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ถนอมถิ่น, วิจิตร. (2524). แมลงศัตรูถั่วเหลืองและการป้องกันกำจัด (ภาคเหนือ). เอกสารวิชาการประกอบการบรรยาย ฉบับที่ 2 โครงการวิจัยแมลงศัตรูถั่วเหลือง กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 27 หน้า.

ทิตย์วรรณ, มนัส. (2529). รูปแบบการเจริญเติบโตของหนอนม้วนใบถั่วเหลือง, Lamprosema diemenalls Guen. (Lepidoptera: Pyralidae). วารสารเกษตร 2(2) : 20-22

พึ่งเจริญ, พีระพัฒน์ ถนอมถิ่น, วิจิตร เสพสวัสดิ์, พิสิษฐ์ และ อรุณินท์, อภิรัตน. (2517). การสูญเสียใบที่มีผลต่อการเจริญเติบโตน้ำหนักเมล็ดและผลผลิตของถั่วเหลืองรายงานการค้นคว้าวิจัย ปี 2517. กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 463-468.

อรุณินท์, อภิรัตน์. (2520). ปัญหาเรื่องแมลงถั่วเหลืองและการป้องกันกำจัด, รายงาน การประชุมวิชาการเรื่องถั่วเหลือง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 146-159.

Andrewartha, H.G., and Birch, L.C. (1970). The distribution and abundance of animals. The University of Chicago Press. 782 pp.

Begon, M., and Mortimer, M. (1981). Population ecology, a unified study of animals and plants. Blackwell Science Publishing Company, Sunderland, Massachusetts. 200 pp.

Bhattacher Jee, N.L. (1977). Records of soybean leaf roller parasites. Rev. Appl. Entomol. 65(8):4499.

Poole, R.W. (1974). An introduction to quantitative ecology. McGraw-Hill Book Company. 460 pp.

Varley, C.G., Gradwell, G.R., and Hassell, M.P. (1973). Insect population ecology, an analytical approach. University of California Press, Berkeley and Los Angeles, California. 212 pp.