การคัดเลือกแบคทีเรียชอบร้อนและชอบเค็มที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้ จากตัวอย่างดินเค็ม

Main Article Content

ผกามาศ ราชมนตรี

บทคัดย่อ

จังหวัดมหาสารคามเป็นพื้นที่การเกษตรที่มีการเพาะปลูกข้าวเป็นหลักจึงมีฟางข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยวปริมาณมาก การประยุกต์ใช้แบคทีเรียที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสเพื่อการกำจัดฟางข้าวจึงได้รับความสนใจเนื่องจากเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ เนื่องจากพื้นที่ส่วนมากเป็นเขตร้อนแห้งแล้งและดินเค็มจึงต้องใช้แบคทีเรียที่สามารถเจริญในสภาวะดังกล่าวได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกแบคทีเรียชอบร้อนและชอบเค็มที่มีความสามารถในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลส โดยเก็บตัวอย่างดินเค็มใน เขตจังหวัดมหาสารคาม 70 ตัวอย่าง ซึ่งสามารถแยกแบคทีเรียได้ 106 ไอโซเลท จากนั้นทดสอบการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสเบื้องต้นโดยสังเกตโซนใสรอบโคโลนีบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง CMC ผลการทดลองพบ 9 ไอโซเลท ที่สามารถสร้างรัศมีโซนใสขนาด 25-105 มิลลิเมตร นำแต่ละไอโซเลทมาศึกษาความสามารถในการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสโดยวัดค่ากิจกรรมเอนไซม์หลังการเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวที่สภาวะต่างๆ การศึกษาผลกระทบของความเข้มข้นเกลือ (3-10 เปอร์เซ็นต์) ต่อการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสในอาหารเลี้ยงเชื้อ Lactose broth ที่เติม CMC เข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ผลการทดลองพบว่าค่ากิจกรรมเอนไซม์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบไอโซเลท RMU41 มีค่ากิจกรรมเอนไซม์สูงที่สุดเท่ากับ 0.826±0.001 ยูนิตต่อมิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 50 องศา เซลเซียส และความเข้มข้นเกลือเท่ากับ 10 เปอร์เซ็นต์นอกจากนี้ไอโซเลท RMU41 ที่เพาะเลี้ยงใน Lactose broth ที่เติมฟางข้าวเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์เป็นแหล่งคาร์บอนให้ค่ากิจกรรมเอนไซม์เท่ากับ 0.246±0.031 ยูนิตต่อมิลลิลิตร เมื่อวิเคราะห์ล าดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S rDNA ของไอโซเลท RMU41 พบว่ามีความใกล้เคียงกับ Streptomyces thermogriseus และ Streptomyces thermovulgaris 99.79 เปอร์เซ็นต์
Streptomyces thermovulgaris 99.79 เปอร์เซ็นต์

Article Details

How to Cite
ราชมนตรี ผ. . (2021). การคัดเลือกแบคทีเรียชอบร้อนและชอบเค็มที่สามารถผลิตเอนไซม์เซลลูเลสได้ จากตัวอย่างดินเค็ม. วารสารเกษตรพระวรุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(2), 285–294. https://doi.org/10.14456/paj.2017.17
บท
บทความวิจัย