กลไกที่แมลงต้านทานต่อสารฆ่าแมลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
แมลงต้านทานต่อสารฆ่าแมลง ถือว่าเป็นปัญหาที่ส าคัญในการป้องกันก าจัดแมลง จากการที่แมลงได้รับสารฆ่าแมลง
ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ตาย แต่มีแมลงบางส่วนที่สามารถรอดชีวิตได้ และพัฒนาการให้มีการต้านทานต่อสารฆ่าแมลง
เพิ่มมากขึ้นในรุ่นถัดไป สารฆ่าแมลงที่นิยมใช้ในการก าจัดแมลงได้แก่ ออร์กาโนฟอสเฟต ไพรีทรอยด์ นีโอนิโคตินอยด์ และ
คาร์บาเมต กลไกการต้านทานต่อสารฆ่าแมลงเกิดขึ้นก่อนสารฆ่าแมลงเข้าสู่ภายในร่างกายของแมลง เช่น พฤติกรรมของ
แมลง และ การลดอัตราการดูดซึมสารฆ่าแมลง หลังจากสารฆ่าแมลงเข้าสู่ภายในร่างกายของแมลงมีกลไกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การเพิ่มการก าจัดปริมาณสารพิษหรือการดักจับสารพิษ การย่อยสลายสารพิษ การกลายของยีนเป้าหมายที่บริเวณของสารออกฤทธิ์ และการต้านทานแบบข้ามกลุ่มของสารฆ่าแมลงในกลุ่มเดียวกัน หรือคนละกลุ่ม ซึ่งกลไกเหล่านี้ท าให้แมลงเพิ่ม
ศักยภาพในการต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมากขึ้น ผลกระทบจากการที่แมลงต้านทานต่อสารฆ่าแมลงส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณการใช้สารฆ่าแมลง เกิดการตกค้างของสารพิษในระบบนิเวศ ผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งนี้แนวทางในการป้องกันไม่ให้แมลงเกิดการต้านทาน มีแนวปฏิบัติโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในท้องที่ให้ข้อมูล อบรมเกษตรกรให้เข้าใจหลักการใช้สาร
ฆ่าแมลงที่ถูกต้อง มีการเฝ้าระวังไม่ให้แมลงศัตรูระบาด มีการน าเทคโนโลยี พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพา ไปใช้ในการตรวจสารฆ่าแมลงในระดับภาคสนาม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ช่วยลดการต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้