ผลของการใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์และเชื้อราไตรโคเดอร์มาต่อการทนแล้งของ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ปลูกในสภาพโรงเรือน

Main Article Content

ธีรพงศ์ นวลฉวี
กิตติ ศรีสะอาด
พีระยศ แข็งขัน

บทคัดย่อ

การเกษตรมีบทบาทส าคัญต่อการด ารงชีวิต และเกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรโดยพื้นที่ทางการเกษตรถูกใช้ในการท านาข้าวมากที่สุด ซึ่งมักประสบปัญหาสภาวะแล้งในช่วงต้นฤดูปลูกท าให้สูญเสียผลผลิตการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาผลการทดลองใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์4 ระดับ ได้แก่ 0, 0.005, 0.02, 0.04 ppm ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา 4 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ได้รับสภาวะแล้งที่อายุ 30 และ 75 วัน ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD จัดได้ 16 กรรมวิธี จ านวน 3 ซ้ า ท าการทดลองในกระถาง เก็บข้อมูลเมื่ออายุ 45 วันหลังปลูก พบว่าจ านวนต้นต่อกอและค่าทนต่อความเหี่ยวเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ความเข้มข้น 0.02 ppm ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา 3 กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร ให้จ านวนต้นต่อกอสูงสุดที่ 13.67 ต้นต่อกอ และการใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ความเข้มข้น 0.04 ppm ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร ท าให้มีค่าต้านทานความเหี่ยวสูงสุดที่ 1.00 คะแนน การเก็บข้อมูลเมื่อข้าวอายุ 90 วันส่งผลให้ความสูงต้นเพิ่มขึ้นเมื่อใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 2 กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร และพื้นที่ใบมากที่สุดเมื่อใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ 0.4 ppm ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร ค่า SPAD Unit มากที่สุดเมื่อใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ 0.005 ppm ร่วมกับเชื้อราไตโคเดอร์มา 2 กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร อัตราการสังเคราะห์แสงเพิ่มขึ้นเมื่อใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 2 กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร เพียงอย่างเดียวและอัตราการคลายน้ าลดลง เมื่อใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ 0.02 ppm ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร เมื่อถึงอายุการเก็บเกี่ยวพบว่าเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีมากที่สุดเมื่อใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ 0.04 ppm ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา2 กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร น้ าหนักแห้งรากเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ 0.005 ppm น้ าหนักแห้งแห้งล าต้นเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ 0.005 ppm ร่วมกับเชื้อราไตโคเดอร์มา 1 กิโลกรัมต่อน้ า 100 ลิตร ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนบราสสิโนสเตอรอยด์ร่วมกับกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถช่วยให้ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนต่อสภาวะแล้ง มีการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย