ระดับของปุ๋ยเคมีไนโตรเจนต่อผลผลิต ประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน เอนไซม์ยูรีเอส และความอุดมสมบูรณ์ของดินหลังการเก็บเกี่ยวอ้อยในสภาพดินทราย

Main Article Content

นิพนธ์ มาวัน
วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ แก้วประดิษฐ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของระดับปุ๋ยไนโตรเจนที่ให้แก่อ้อยปลูกต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน กิจกรรมเอนไซม์ยูรีเอสและคุณสมบัติทางเคมีบางประการของดินที่ระยะเก็บเกี่ยวอ้อยในเขตดินทราย วางแผนงานทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จ านวน 3 กรรมวิธีทดลอง 4 ซ้ำ: 1) กลุ่ม
ควบคุมไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (control group) 2) ปุ๋ยไนโตรเจนตามค าแนะน า (N1) และ 3) ปุ๋ยไนโตรเจนพร้อมปลูกสองเท่าของคำแนะน า (N2) ผลการศึกษาพบว่าความสูงและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางล าอ้อยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ อย่างไรก็ตามที่อ้อยอายุ 4 เดือน กรรมวิธี N2 ส่งผลให้จ านวนต้นต่อกอและปริมาณคลอโรฟิลล์สูงกว่าในกรรมวิธี N1 และ Control อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้กรรมวิธี N2 ส่งผลให้ผลผลิต (9.08 ตันต่อไร่) และจ านวนล าต่อไร่ (14,824 ล าต่อไร่) สูงที่สุดแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญ (P<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธี N1 และ control ตามล าดับ นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพร้อมปลูกสองเท่าของคำแนะนำ (N2) ส่งผลต่ออินทรียวัตถุและปริมาณฟอสฟอรัสในดินหลังการทดลองเพิ่มขึ้นและไม่ส่งผลต่อการเพิ่มกิจกรรมของเอนไซด์ยูรีเอส ในขณะที่สัดส่วนกิจกรรมยูรีเอสต่อปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่ใส่ต่ ากว่าการใส่ปุ๋ยในอัตราแนะน า ดังนั้นการผลิตอ้อยในเขตดินทรายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น หากได้รับปุ๋ยไนโตรเจนพร้อมปลูกเพิ่มขึ้นสองเท่าของอัตราแนะนำสามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยและยังคงส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย