การพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับมั่งมี ศรีสุข: กรณีศึกษาบ้านหนองเผือก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ธันยชนก ปะวะละ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) ดังนี้ 1) การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือนบ้านหนองเผือก อ าเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจ านวน 244 คน และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยการประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วม (Participatory rural appraisal-PRA) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการด าเนินงานพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านหนองเผือก กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ (Key informant: KI) จ านวน 30 คน และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับ มั่งมี ศรีสุขโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics) ได้แก่ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation coefficient (r) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple regression analysis) การเลือกเป็นพื้นที่วิจัยเนื่องจากหมู่บ้านหนองเผือกมีความโดดเด่น โดยได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับ 3 “มั่งมี ศรีสุข”ผลการวิจัยพบว่าครัวเรือนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการด าเนินชีวิต (3 ห่วง 2 เงื่อนไข) ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านที่มีการน ามาปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านความมีเหตุมีผล ( X = 4.22) ประชาชนมีส่วนร่วมในการสืบทอดประเพณีของชุมชนการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา การใช้สติปัญญาและเหตุผลไต่ตรองหาสาเหตุและแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยความสามารถไม่วู่วาม คิดแบบรอบครอบมีเมตตาและช่วยเหลือผู้อื่นเสมอด้านการมีภูมิคุ้มกัน ( X = 4.13) ประชาชนในชุมชนมีความเชื่อที่ว่าการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” และจะทำความดีต่อไปเพื่อผลดีต่อตนเองและครอบครัว ประชาชนมีเงินประกันชีวิตหรือเงินฌาปนกิจหักด้วยหนี้สินปัจจุบันเป็นบวก การใช้หลักประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกัน การมีเงินเงินออมเพื่อเป็นทุนส ารองยามฉุกเฉิน และด้านคุณธรรม ( X = 4.02) สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและพยายามหลีกเลี่ยงอบายมุขทั้งปวง ผลการด าเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมั่งมี ศรีสุข สามารถแยกเป็นรายด้าน ผลการด าเนินงานด้านการออม อยู่ในระดับมาก ( X = 4.06) โดยประชาชนมีช่องทางในการออม เช่น เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ กลุ่มสัจจะกองทุนหมู่บ้านหรือธนาคาร รองลงมา คือ ด้าน
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( X = 4.05) การที่ประชาชนให้ความส าคัญในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและประหยัดประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและด้านความเอื้ออาทร ( X = 4.04) ประชาชนมีส่วนร่วมให้การช่วยเหลือกิจกรรมของเพื่อนบ้าน เช่น งานมงคลสมรส งานศพ ตลอดจนงานที่ราชการจัดขึ้นถือว่าเป็นการสร้างความสามัคคีอย่างหนึ่ง ปัจจัยส าคัญที่ท าให้ชุมชนประสบความส าเร็จเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับ มั่งมี ศรีสุขมี 8 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้น าหมู่บ้าน ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านจิตใจ และด้านเทคโนโลยี โดยภาพรวมทั้ง 8 ปัจจัย มีความสัมพันธ์
กับความส าเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า การน าหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ด้านความรู้ไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์และผลกระทบการดำเนินงานทางบวก ดังนั้นเพื่อให้ผลการด าเนินงานของชุมชนดีขึ้น จึงควรให้ความส าคัญกับการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย