ลักษณะฟีโนไทป์และการจําแนกสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

อรอนงค์ ไชยเชษฐ
นัดติยา ประกอบแสง
นวพรรษ ผลดี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของลักษณะภายนอกและจัดจำแนกสายพันธุ์ไก่พื้นเมืองไทยตามลักษณะประจำพันธุ์ทำการศึกษาในพื้นที่ทั้งหมด 5 อำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคามอำเภอกันทรวิชัยอำเภอวาปีปทุมอำเภอชื่นชมและอำเภอเชียงยืนจากการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ภายนอกของไก่พื้นเมืองไทยตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ 4 สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือไก่นกกดไก่ประดู่หางดำไก่นกแดงและไก่เหลืองหางขาวโดยไก่เพศผู้ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุดคือสายพันธุ์นกกดขณะที่เพศเมียพบสายพันธุ์ประดู่หางดำมีการเลี้ยงสูงสุดผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา 9 ลักษณะของไก่พื้นเมืองไทยพบความแตกต่างระหว่างเพศ (P <0.05) โดยเพศผู้มีน้ำหนักความสูงความยาวปีกความยาวหลังความยาวกระดูกหน้าแข้งความยาวเท้าถึงหลังและความยาวจงอยปากถึงหงอนมากกว่าเพศเมียขณะที่พบเพียงลักษณะของความยาวหลังและความยาวแข้งที่แตกต่างกันระหว่างไก่พื้นเมืองเพศเมียทั้ง 9 สายพันธุ์ (P <0.05) นอกจากนี้จากการสำรวจข้อมูลสมรรถภาพการผลิตของแม่ไก่พื้นเมือง 3 สายพันธุ์ที่มีการเลี้ยงมากที่สุดพบว่าไก่ประดู่หางดำไก่นกแดงและไก่นกกดให้จำนวนผลผลิตไข่ต่อครั้งมีค่าเฉลี่ย 10.52 +2.52, 10.0042.83 และ 10.67 6. 1.12 ฟองโดยพบอัตราการรอดร้อยละ 76.64, 82.27 และ 72.94 ตามลำดับผลการศึกษาทำให้ทราบข้อมูลลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองที่มีการเลี้ยงในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามสามารถจำแนกสายพันธุ์ตามลักษณะประจำพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงพร้อมทั้งทราบข้อมูลการให้ผลผลิตไข่ของแม่ไก่พื้นเมืองไทยในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้กับเกษตรกรในพื้นที่สำหรับคัดเลือกไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์แท้ที่มีผลผลิตไข่สูงไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อการขยายพันธุ์ในทางการค้าและการอนุรักษ์สายพันธุ์ไก่พื้นเมือง

Article Details

บท
บทความวิจัย